ประวัติความเป็นมา แนวความคิดและวัตถุประสงค์ของการตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลา

มุ่งมั่นพัฒนา เสริมสร้างวิถีชุมชน คนคือศูนย์กลาง สร้างสรรค์ยั่งยืน

ประวัติความเป็นมา แนวความคิดและวัตถุประสงค์ของการตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลา

มูลนิธิชุมชน หรือ Community Foundation ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1914 ณ เมือง Cleveland รัฐ Ohio ประเทศสหรัฐอเมริกา ในนาม Cleveland Foundation โดย Fredrick Goff นายธนาคารผู้มีชื่อเสียงแห่ง Cleveland Trust Company ปัจจุบัน “มูลนิธิชุมชน Cleveland” มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของมูลนิธิชุมชนในสหรัฐอเมริกา มีทรัพย์สินกว่า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการบริหารจัดการกองทุนเพื่อพัฒนา ชุมชนมากกว่า 800 กองทุน และกระจายทุนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนเป็นจำนวนเงินมากกว่า 85 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี

ความสำเร็จของมูลนิธิชุมชนในสหรัฐอเมริกาเป็นที่ยอมรับและแนวความคิดนี้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเชื่อกันว่า “มูลนิธิชุมชน” จะเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาของท้องถิ่น และเปิดพื้นที่ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทุนเพื่อชุมชนของตนเอง

จากรายงานประจำปีของ WINGS แจ้งว่าในปี พ.ศ.2547 มีมูลนิธิชุมชนกระจายไปถึง 1,175 มูลนิธิ ใน 46 ประเทศ มีอัตราเพิ่มเฉลี่ยปีละ 5%

Number of community foundations by region

มูลนิธิชุมชนเป็นองค์กรทุนที่ก่อตั้งขึ้นโดยชุมชนในพื้นที่นั้นๆ จาก 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคม ร่วมกันบริหาร เพื่อประโยชน์ของชุมชนนั้นๆ

อาจจะระดมทุนเองจากภายในหรือภายนอก จากนั้นกระจายทุนหรือทรัพยากรที่ได้ไปช่วยคนในชุมชน หรืออาจจะเป็นแบบประสานเครือข่ายในชุมชนมารวมพลังกันไปช่วยในประเด็นต่างๆ

มูลนิธิชุมชนมีการสร้างกองทุนสะสมเพื่อความยั่งยืน (Endowment Fund) และมีกองทุนที่เจาะจงช่วยเหลือในประเด็นต่างๆได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค มูลนิธิชุมชนสามารถเป็นเวทีกลางสะท้อนปัญหาที่มีในชุมชน เพื่อระดมสรรพกำลังลงไปช่วยแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์

Worldwide Initiatives for Grantmakers Support หรือ WINGS ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายระดับโลกที่ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคนใจบุญ และวัฒนธรรมแห่งการให้ โดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสนับสนุน การแบ่งปันองค์ความรู้และพัฒนาร่วมกันในบรรดาผู้ร่วมเครือข่าย WINGS ได้ให้ความหมายของ Community Foundation ว่าเป็น An independent, nonprofit, philanthropic organization working in a specific geographic area which, over time, builds a collection of endowed funds from many donors in the community. It provides services to the community and its donors, makes grants, and undertakes community leadership and partnership activities to address a wide variety of needs in its service area. A community foundation is a vehicle for local donors who wish to contribute their cash, trusts, bequests, or real property to create permanent endowments that will benefit the community in perpetuity. Using the investment earnings on each endowed fund, a community foundation makes and builds capacity within the community to address local needs and opportunities. Their task is to build substantial, permanent funds from which grants are made to local charitable and community organizations.

Suzanne Feurt กล่าวถึงมูลนิธิชุมชนว่า มูลนิธิชุมชนมีบทบาทนำในการแก้ปัญหาของชุมชน โดยเป็นผู้ประสาน ผู้รวบรวมคน และเชิญประชุม เป็นตัวเร่งและเป็นตัวกลางในการประสานงานในการแก้ปัญหาของชุมชน มูลนิธิชุมชนสามารถประสานความร่วมมือกับมูลนิธิต่างๆ กระตุ้นความร่วมมือระหว่างองค์กรรัฐและเอกชน และนำพาโครงการให้เข้าสู่ความสนใจของผู้ให้ทุน ทั้งในและต่างประเทศ

ลักษณะสำคัญของมูลนิธิชุมชนมีดังต่อไปนี้

  1. การก่อตั้งมูลนิธิชุมชน เป็นความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคธุรกิจ ร่วมกันก่อตั้ง และบริหารด้วยความเสมอภาคกัน
  2. มีพื้นที่ชุมชนชัดเจนที่จะดำเนินงาน
  3. มูลนิธิชุมชนมีบทบาทและหน้าที่ในการระดมทุน (Resource Mobilization) จากภายในและภายนอกชุมชน เพื่อนำมาช่วยเหลือโครงการที่เกิดขึ้นภายในชุมชน เป็นการบริหารจัดการด้วยประชาชนในชุมชน
  4. มูลนิธิชุมชนมีหน้าที่ในการกระจายทุน และประสานงานกับองค์กรชุมชน และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชนด้านต่างๆ
  5. มูลนิธิชุมชนจะมีเงินกองทุนถาวร (Endowment Fund) สะสมไว้ และทำให้กองทุนถาวรนี้มีการเติบโตและยั่งยืน
  6. มูลนิธิชุมชนมีระบบการบริหารงานที่โปร่งใส และมีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้สาธารณชนรับทราบสม่ำเสมอ

ความเป็นมาของมูลนิธิชุมชนในประเทศไทย

แนวความคิดเรื่อง “มูลนิธิชุมชน” ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย การที่คนในชุมชนที่มีข้าวของเงินทองจะแบ่งปันให้กับคนที่ขาดแคลน หรือเอามารวมกันแล้วกระจายไปให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือก็มีมาช้านาน เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมหรือความเชื่อต่างๆ รวมทั้งด้านศาสนาด้วย เช่น วัดในพระพุทธศาสนา กองทุนซะกาตในชุมชนอิสลาม และกิจกรรมของคณะเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นต้น

ปัจจุบันนี้เราจะเห็นมูลนิธิหรือกองทุนต่างๆที่อยู่กับวัดหรือโรงเรียน คอยช่วยเหลือผู้ขาดแคลนด้านการศึกษา อาหาร และการดูแลรักษาสุขภาพ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า มูลนิธิชุมชนเป็นพัฒนาการของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสังคมโดยเอา “ชุมชน” ในเชิงพื้นที่ เช่น อำเภอ หรือจังหวัดเป็นฐาน และความช่วยเหลือนั้นเป็นไปเพื่อตอบสนองการแก้ปัญหา และพัฒนาในทุกด้าน ตามความต้องการของสมาชิกในชุมชนนั้น

แนวความคิดเรื่อง “มูลนิธิชุมชน” เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544) ที่รัฐได้ให้ความสำคัญต่อองค์กรชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อเนื่องมาจนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ที่เน้นการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ซึ่ง “มูลนิธิชุมชน” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา การแก้ไขปัญหาด้วยทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่ ด้วยจิตสำนึกสาธารณะความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาคม โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)

สถาบันซีเนอร์กอส (The Synergos Institute) จากสหรัฐอเมริกาได้จุดกระแสแนวคิดเรื่องมูลนิธิชุมชนในประเทศไทยในปี 2545 โดย David Winder จาก Synergos Institute สหรัฐอเมริกา และ Adiana Cortes จาก Foundation Commuitarai Del Baijo เม็กซิโก นำเรื่องมูลนิธิชุมชนมาถ่ายทอดประสบการณ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มี Senior Fellow in Philanthrophy ไทยสองคนคือ คุณเบ็ญจมาศ ศิริภัทร แห่งสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และนายสุกิจ อุทินทุ แห่งมูลนิธิรักษ์ไทย / CARE Thailand เป็นผู้ร่วมเสนอแนวคิด นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้เปิดให้ได้ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับ 14 องค์กร คือ

  1. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
  2. สถาบันคีนันแห่งเอเชีย
  3. มูลนิธิรักษ์ไทย
  4. มูลนิธิกองทุนไทย
  5. มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย
  6. มูลนิธิปูนซิเมนต์ไทย
  7. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  8. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  9. กองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค
  10. ธนาคารออมสิน
  11. วิทยาลัยการจัดการสังคม
  12. สถาบันการจัดการความรู้ท้องถิ่น
  13. ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  14. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ของการเกิดมูลนิธิชุมชนในประเทศไทย ซึ่งสถาบันซีเนอร์กอสจะเป็นผู้ช่วยสนับสนุนด้านความรู้และส่งเสริม

ในไตรมาสแรกของปี 2547 ผู้จบหลักสูตรภาวะผู้นำชุมชนกรุงเทพรุ่นแรก 3 คน พร้อมเจ้าหน้าที่ของโครงการคอร์เนอร์สโตนประเทศไทย และพันธมิตรจากองค์กรท้องถิ่นที่ให้บริการชุมชนโดยไม่แสวงหากำไรอีก 14 องค์กรได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนามูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น เพื่อเป็นองค์กรนำร่องสำหรับมูลนิธิชุมชนในประเทศไทย ต่อมาในปีเดียวกัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนให้เกิดมูลนิธิในจังหวัดต่างๆโดยให้ทุนสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อตั้งใน 5 จังหวัดคือ อุดรธานี ระยอง กรุงเทพมหานคร ลำปาง และสงขลา

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุนงบประมาณ 17.5 ล้านบาท ในการก่อตั้งมูลนิธิชุมชนใน 4 จังหวัดคือ ลำปาง อุดรธานี ระยอง และกรุงเทพมหานคร โดยมีสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) ได้รับงบประมาณ 6.8 ล้านบาท ในเดือนมีนาคม 2548 ทำหน้าที่ประสานงานในจังหวัดลำปาง และอุดรธานี และสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ได้รับงบประมาณ 6.8 ล้านบาท ในเดือนเมษายน 2548 ทำหน้าที่ประสานงานในจังหวัดระยอง และกรุงเทพมหานคร

ต่อมาได้มีความพยายามในการจัดตั้งมูลนิธิชุมชนขึ้นอีกในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้เริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2547 โดยความร่วมมือกับธนาคารโลกและได้จดทะเบียนในชื่อ มูลนิธิชุมชนโคราชในปี 2550 และจังหวัดภูเก็ตก็ได้พัฒนามูลนิธิชุมชนขึ้นโดยการสนับสนุนจากสถาบัน Synergos ซึ่งมูลนิธิชุมชนภูเก็ตได้จดทะเบียนแล้วเช่นกัน นอกเหนือจากนี้ยังมีความร่วมมือระหว่างศูนย์สาธารณะประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์กับจังหวัดสงขลาและสตูล ซึ่งทั้งสองจังหวัดอยู่ระหว่างการยื่นจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิ

การก่อตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลา

ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มีภารกิจหลักในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและแข็งแกร่งแก่องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย ศสป ประสานความร่วมมือและทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศ ในประเทศเช่น กลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมไทย (ธสท) และต่างประเทศเช่น CIVICUS, The Synergos Institute รวมทั้ง Asia-Pacific Philanthropy Consortium และยังมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่ทำงานเกี่ยวข้องกับองค์กรสาธารณะประโยชน์ และประชาสังคมด้วย

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 1 ธันวาคม 2549 รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ ประธานศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้นัดกลุ่มนักศึกษาเก่านิด้า ศูนย์หาดใหญ่ และกลุ่มประชาสังคมสงขลา ที่เคยร่วมงานกันในโครงการเครือข่ายติดตามศึกษาพัฒนาระบบราชการจังหวัดสงขลา เมื่อปี 2547 ร่วมปรึกษาหารือกันในการก่อตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลา ซึ่งกลุ่มดังกล่าวก็มีแนวคิดที่จะตั้งมูลนิธิอยู่บ้างแล้ว

โดยภาคประชาสังคมสงขลามีแนวคิดหนุนเสริมการทำงานของภาคประชาชนให้มีองค์กรในรูปมูลนิธิ มีความเป็นนิติบุคคลที่ใช้ในการขับเคลื่อนงาน  โดยคำนึงถึงจังหวะก้าวสำคัญของการขับเคลื่อนในอดีต ตั้งแต่สงขลาประชาคม  ประชาคมสุขภาพสงขลา สมัชชาสุขภาพกับการขับเคลื่อนประเด็นระดับรากหญ้า  จนถึงแผนสุขภาพจังหวัดสงขลาซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการขับเคลื่อนในนามของ "เครือข่ายสร้างสุขภาพจังหวัดสงขลา สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" เป็นองค์กรนิติบุคคลในการรับงบประมาณ แต่ด้วยความเป็นหน่วยงานราชการจึงติดข้อจำกัดบางอย่าง และนอกจากเพื่อเป็นการฟื้นพลังของชุมชนที่เคยมีอย่างเป็นจุดแข็งสำคัญนำมาช่วยเอื้อหนุนสังคมแล้วยังเพื่ออำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อนงานของภาคประชาสังคมจึงอยากให้เกิดองค์กรที่มีความเป็นนิติบุคคลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและสนับสนุนการทำงานของภาคประชาชนในระยะยาวด้วย

อย่างไรก็ดี นอกจากสองกลุ่มดังกล่าวแล้วยังมีตัวแทนภาคเอกชน ที่มาจากหอการค้าจังหวัดสงขลา ซี่งมีส่วนเข้ามาชักชวนภาคประชาสังคมเข้าไปร่วมทำงาน ทั้งสามกลุ่มจึงเริ่มประชุมแลก เปลี่ยนความคิดเห็น ศึกษา เรียนรู้ และร่วมกันพัฒนาไปสู่การก่อตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลาในที่สุด

ชื่อมูลนิธิ : มูลนิธิชุมชนสงขลา ตัวย่อคือ ม.ช.ส.

ปรัชญา : มุ่งมั่นพัฒนา เสริมสร้างวิถีชุมชน คนคือศูนย์กลาง สร้างสรรค์ยั่งยืน

วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรเปิดโอกาสให้บุคคล หน่วยงาน องค์กร เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทุน ร่วมทำ เพื่อพัฒนาจังหวัดสงขลา

คำขวัญ : ร่วมคิด ร่วมทุน ร่วมทำ

เขตพื้นที่ : จังหวัดสงขลา

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อการจัดการความรู้ในการพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา
  2. เพื่อเชื่อมประสานความร่วมมือกับบุคคล เครือข่าย องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน ภาครัฐ เพื่อดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์
  3. เพื่อสร้างโอกาส พัฒนาคน สนับสนุนผู้ที่ทำงานพัฒนาได้พัฒนาแนวคิด ทักษะประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชน
  4. เพื่อระดมทุนทั้งภายในจังหวัดและองค์กรภายนอกเพื่อสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์
  5. เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและไม่ดำเนินการทางการเมืองใดๆทั้งสิ้น

คณะผู้ก่อตั้ง ประกอบไปด้วย

  1. นายชิต สง่ากุลพงศ์ ประธานผู้พิพากษาสมทบ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา
  2. นายสมพร สิริโปราณานนท์ รองประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา
  3. นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา
  4. นายอรัญ จิตตะเสโน ผู้ทรงคุณวุฒิ ประชาสังคม
  5. นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล สถาปนิก ประชาสังคม
  6. นายชาคริต โภชะเรือง ผู้ประสานงานเครือข่ายแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
  7. นายพิชัย ศรีใส สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคมสลาตัน
  8. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ
  9. พระครูปลัดสมพร ฐานธมฺโม เจ้าอาวาสวัดคลองแห

นอกเหนือจากคณะผู้ก่อตั้งข้างต้นแล้ว ยังมีผู้ร่วมคิดและสนับสนุนการตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลาซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการอีกหลายท่าน อาทิเช่น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ (ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) นายพีระ ตันติเศรณี (รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา) นางพิชยา แก้วขาว (ประชาสังคม) และ นางพิกุล บุรีภักดี (ประชาสังคม) เป็นต้น

มูลนิธิชุมชนสงขลา ได้จดทะเบียนแล้วเสร็จสามารถดำเนินงานได้อย่างสมบูรณ์นับแต่วันที่ 4  มีนาคม 2552

ที่ปรึกษามูลนิธิชุมชนสงขลา

  1. นายบัญญัติ จันทน์เสนะ
  2. นายลัภย์ หนูประดิษฐ์
  3. ดร.ครูชบ  ยอดแก้ว
  4. นายอัมพร ด้วงปาน
  5. นายเคล้า แก้วเพชร
  6. นายกวิศพงษ์  สิริธนนนท์สกุล
  7. นายภูเบศ  แซ่ฉิน
  8. นายอนันต์ ดิสระ

กรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลาชุดปัจจุบัน ปี 2554-2556

  1. นายชิต สง่ากุลพงศ์ ประธานกรรมการ
  2. นายสมพร สิริโปราณานนท์ รองประธานกรรมการ
  3. นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ กรรมการ
  4. นายอรัญ จิตตะเสโน กรรมการ (ถึงแก่กรรม) กำลังแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง
  5. นายพิชัย ศรีใส กรรมการ
  6. นายชาคริต โภชะเรือง กรรมการ
  7. พระครูปลัดสมพร ฐานธมฺโม กรรมการ
  8. นายชัยวุฒิ เกิดชื่น กรรมการ
  9. นายประโชติ อินทร์ถาวร กรรมการ
  10. นางณปภัช  ศิรินุพงศ์  กรรมการ
  11. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ เลขานุการ

เจ้าหน้าที่ประจำมูลนิธิชุมชนสงขลา

  1. นายชาคริต  โภชะเรือง  ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนสงขลา
  2. นางพิชยา แก้วขาว  ผู้จัดการสำนักงาน
  3. นางสาวกมลทิพย์ อินทะโณ เจ้าหน้าที่บริหารสำนักงาน
  4. นางสาวบุญเรือง ปลอดภัย เจ้าหน้าที่ประสานงานพื้นที่

ที่ตั้ง  :  สำนักงานใหญ่  ณ วัดคลองแห  ต.คลองแห  อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา

สำนักประสานงานพื้นที่  อาคารชิตตยาแมนชั่น เลขที่ 73 ซอย 5  ถ.เพชรเกษม  อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา 90110

โทรศัพท์/โทรสาร  :  074-221286

มือถือ  :  086-4892086

ผู้สนใจที่จะสนับสนุนกิจกรรมและช่วยเหลือมูลนิธิชุมชนสงขลา สามารถแจ้งความจำนงและบริจาคได้ที่

  1. สำนักงานประสานงานพื้นที่
  2. บัญชี “มูลนิธิชุมชนสงขลา” ธนาคารกรุงเทพ  สาขาหาดใหญ่ใน  เลขที่บัญชี  562-0-52250-7
personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน