"ประชุมทีมอำเภอสิงหนครเพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือการบริการสาธารณะ"

by punyha @12 ม.ค. 67 08:09 ( IP : 171...243 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 1477x1108 pixel , 105,760 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 145,010 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 175,029 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 189,580 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 204,568 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 165,794 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 133,287 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 134,686 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 140,122 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 99,184 bytes.

"ประชุมทีมอำเภอสิงหนครเพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือการบริการสาธารณะ"

วันที่ 8 มกราคม 2567 โครงการวิจัยฯร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา ม.ราชภัฎสงขลา จัดประชุมภาคีเครือข่า่ยในพื้นที่อำเภอสิงหนครที่ผ่านการลงนามความร่วมมือเพื่อหารือแนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณะ ณ ห้องธารธารา รพ.สิงหนคร อ.สิงหนคร จ.สงขลา โดยมีหน่วยงานได้แก่ อบจ.สงขลา ท้องถิ่นอำเภอ ม.ราชภัฎ มูลนิธิชุมชนสงขลา สสอ.สิงหนคร ทม.ม่วงงาม อบต.ป่าขาด/ชิงโค/ทำนบ/วัดขนุน สกร.สิงหนคร มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ บ.ซีเวลท์ฯ รพ.สต.สว่างอารมณ์/ชะแล้/รำแดง/ป่าขาด/บ้านสถิตย์/ชิงโค/ทำนบ/บ้านบ่อทราย/วัดขนุน จำนวน 34 คน

โดยมีเป้าหมายร่วม ให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย วัยแรงงานและผู้สูงอายุ

กองสาธารณสุขอบจ.สงขลา นำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบบริการ "เติมสุขโมเดล" มุ่งเป้าพัฒนาระบบบริการสาธารณะทั้งด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต ต่อยอดจากฐานทุนเดิมที่อบจ.ดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะงานกองทุนฟื้นฟูฯ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ การแพทย์ฉุกเฉิน โดยมีกลไกความร่วมมือ 3 ระดับ ได้แก่

1)ระดับจังหวัด ประกอบด้วยภาคีภาคส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ร่วมกันให้มี center ในการประสานงานกลาง

-ข้อมูลกลาง www.khonsongkhla.com

-ระบบขนส่งสาธารณะรับส่งผู้ป่วย

-บุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุ

-การปรับสภาพบ้าน (พมจ+อบจ.)

2)ระดับอำเภอ

1.ร่วมกับพชอ.ให้มีอนุกรรมการทำหน้าที่เชื่อมโยง สนับสนุนการทำงานและติดตามประเมินผล

2.พัฒนาระบบบริการ

-ร่วมกับรพ.สต.ถ่ายโอนจัดระบบบริการเชิงรุก มี center หลายจุดเพื่อให้เกิดการกระจายและเพิ่มกลุ่มเป้าหมายการให้บริการ ให้บริการด้านสุขภาพถึงบ้าน(จัดคิว/ปฏิทินการให้บริการ) หรือจัดระบบรถขนส่งสาธารณะอำนวยความสะดวก

-มี center กระจายกันไปตามศักยภาพของหน่วยบริการ ได้แก่

ขนาด s รพ.สต.ป่าขาดให้บริการแพทย์แผนไทย รพ.สต.ชะแล้เป็นศูนย์เรียนรู้สถาบันการศึกษา รพ.สต.สว่างอารมณ์เป็นคลีนิคผู้สูงอายุ

ขนาด s-plus+ รพ.สต.รำแดง เป็นศูนย์สร้างสุข ศูนย์ซ่อมสร้างสุข สถานชีวาภิบาล,

ขนาด L รพ.สต.วัดขนุนรับผิดชอบงานทันตกรรม รพ.สต.ชิงโค บริการทันตกรรม LTC

-ด้านคุณภาพชีวิตประสานข้อมูลระดับอำเภอร่วมกับ TQM,TPmap และอื่นๆ

3.ระดับตำบล

-ร่วมกับพชต.จัดให้มีกลไกศูนย์บูรณาการความช่วยเหลือ ประกอบด้วยศูนย์สร้างสุุขชุมชน ศูนย์ช่วยเหลือทางสังคม เป็นต้น ทำงานร่วมกัน นำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดกรองมาทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต/แผนบริการ/แผนสุขภาวะรายบุคคล

-พื้นที่นำร่องพัฒนาระบบกลุ่มปิด iMed@home มูลนิธิชุมชนสงขลาในการให้บริการ

ที่ประชุมร่วมให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มีข้อสรุปดังนี้

1.ความก้าวหน้าหลังจาก MOU ได้เข้าพบนายอำเภอเพื่อประสานการทำงานกับพชอ. เห็นชอบในแนวทางดังกล่าว และนำมาสู่การหารือในรายละเอียดในการประชุมครั้งนี้

2.การพัฒนากลไกสนับสนุนการดำเนินงานระบบบริการสาธารณะ

2.1 เสนอคณะกรรมการพชอ.สิงหนคร เพิ่มกรรมการในคณะอนุกรรมการกลุ่มเปราะบาง พชอ.สิงหนคร ในส่วนเจ้าหน้าที่พม.ระดับอำเภอ  ผู้แทนนักพัฒน์ อปท. ผู้แทนภาคเอกชน สภาองค์กรชุมชน สภาเด็กและเยาวชน

2.2 ให้มีกลไกพชต. โดยมีแนวทางร่วมคือ ให้มีนายกอปท.เป็นประธาน มีเจ้าหน้าที่สสอ.ที่ดูแลตำบลเป็นเลขานุการและมีปลัดอำเภอที่ดูแลตำบลเป็นเลขานุการร่วม มีกรรมการ 9-15 คนตามความเหมาะสม

3.ประสานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดกรองในแต่ละด้าน ประกอบด้วยข้อมูลการคัดกรอง 9 ด้านของผู้สูงอายุและวัยแรงงาน ในส่วนของสสอ. ท้องถิ่นจังหวัด ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย TQM,TPmap ข้อมูลจาก www.khonsongkhla.com ข้อมูล iMed@home ภาคเอกชน(ประกันสังคม) นัดหมายวันที่ 11 มกราคม ดูภาพรวมเชิงระบบ ในการประสานข้อมูลเพื่อการทำงานร่วมกัน รวมถึงออกแบบระบบข้อมูลกลางเพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการ

4.พัฒนาระบบการทำงานระดับตำบล ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญคือ การพัฒนากลไก พชต. นำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายมาประสานร่วมกันเพื่อให้เห็นภาพรวมของพื้นที่ แล้วจัดทำแผนการให้บริการแบบมีส่วนร่วม มีการปฎิบัติการแก้ปัญหา การติดตามประเมินผล

ทั้งนี้จะมีการนำร่องจัดทำแผนสุขภาวะรายคนและระดับตำบล รวมถึงกติกาชุมชน(พัฒนาระบบกลุ่มเชิงพื้นที่ จัดตั้ง Adminและทีมหน่วยบริการ การคัดกรองสุขภาวะรายคนในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย การนำเสนอและคืนข้อมูลและให้ความรู้ประกอบการวิเคราะห์สาเหตุแห่งความเสี่ยง-ป่วยทั้งมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม การทำแผนสุขภาวะรายคน การรายงานผลการปรับพฤติกรรม) ผ่านระบบกลุ่ม iMed@home ในพื้นที่ตำบลป่าขาด และมีการนัดหมายกันในวันที่ 19 มกราคม 2567 ประชุมทีมพชต.และพัฒนาศักยภาพครูก. ให้ใช้ระบบกลุ่มปิด iMed@home จำนวน 20 คน ณ รพ.สต.ป่าขาด

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน