"Sandbox แบบคัดกรองสุขภาวะรายคนและแผนสุขภาวะรายคน ระบบกลุ่ม iMed@home ตำบลควนโส"

by punyha @14 ก.พ. 67 11:10 ( IP : 171...103 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 1477x1108 pixel , 190,239 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 97,048 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 87,073 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 100,594 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 201,334 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 86,619 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 100,835 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 172,381 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 78,400 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 103,016 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 175,931 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 87,191 bytes.
  • photo  , 858x1907 pixel , 67,666 bytes.
  • photo  , 858x1907 pixel , 68,961 bytes.
  • photo  , 858x1907 pixel , 96,857 bytes.
  • photo  , 858x1907 pixel , 79,246 bytes.
  • photo  , 858x1907 pixel , 85,165 bytes.

"Sandbox แบบคัดกรองสุขภาวะรายคนและแผนสุขภาวะรายคน ระบบกลุ่ม iMed@home ตำบลควนโส"

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 กาารประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำแผนสุขภาวะชุมชน/ธรรมนูญชุมชนและแผนสุขภาวะรายคน ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง ณ วัดปากจ่า โดยมีท่านปรีชัย มาละวัณโณ ที่ปรึกษานายกอบจ.สงขลา ปลัดอาวุโส ปิยพัชร์ วุ่นดำ ให้เกียรติมาเป็นประธาน และมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย สสอ. ปลัดประจำตำบล ผู้แทนพัฒนาการอำเภอ ผู้ประสานงานโซนรพ.สต.ถ่ายโอน อำเภอควนเนียง สกร.อำเภอ ผศ.ดร.ศดานนท์ วัตตธรรมและทีมวิจัย ม.ราชภัฎสงขลา ทีมกองสาธารณสุขอบจ.สงขลา สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา อบต.ควนโส ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจำนวน 38 คน อสม. แกนนำ ผญ./กำนันในพื้นที่ รพ.สต.ควนโสและบ้านกลาง รวมจำนวน 110 คน

กิจกรรมเริ่มด้วยพิธีเปิด จากนั้นผอ.รพ.สต.ควนโสคืนข้อมูลการคัดกรองสุขภาวะรายคนผ่านระบบกลุ่มของแอพพลิเคชั่น iMed@home โดยมีกลุ่มเสี่ยง/ป่วยผ่านการคัดกรองจำนวน 431 คน(ยอดรวมที่มีการค้ดกรอง 485 คน) มีอสม.ที่รับผิดชอบจำนวน 36 คน ข้อมูลสะท้อนปัญหาสุขภาพที่ป่วยเป็นโรค NCDs น้ำหนักเกิน มีพฤติกรรมบริโภคไม่เหมาะสมทั้งกินหวาน มัน เค็ม เผ็ด ไม่ออกกำลังกาย หาหมอไม่ต่อเนื่อง ผู้สูงอายุมีปัญหาทางการมองเห็น การได้ยิน มีภาวะความเครียดจากด้านสุขภาพและรายจ่าย ด้านสังคมพบภาวะความรู้สึกโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุ ด้านสภาพแวดล้อมต้องการปรับสภาพบ้าน มีปัญหาขยะ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย จำนวน 431 คน จำแนกเป็นเพศหญิง 280 คน เพศชาย 148 คน ไม่ระบุ 3 คน

ด้านสุขภาพทางกาย พบว่ามีโรคประจำตัว 233 คน ไม่มี 44 คน ไม่ทราบ 3 คน เป็นโรคความดัน 170 คน โรคเบาหวาน 80 คน โรคไขมันในเลือด 69 คน โรคหอบหืด 12 คน โรคเส้นเลือดสมองตีบ 11 คน โรคหัวใจ 10 คน โรคภูมิแพ้ 7 คน โรคข้ออักเสบ 6 คน โรคไต 6 คน โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต 5 คน มีอาการจิตเวช 3 คน โรคสมองเสื่อม 2 คน พาร์กินสัน 1 คน โรคมะเร็ง 1 คน โรคถุงลมโป่งพอง 1 คน ทั้งหมดนี้มีการรักษาต่อเนื่อง 222 คน ไม่ต่อเนื่อง 22 คน

ปัญหาสุขภาพในรอบเดือน พบว่าปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 135 คน มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ 52 คน มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก 33 คน กระเพาะอาหารอักเสบ 12 คน อุจจาระร่วง 10 คน สุนัขกัด งูกัด สัตว์มีพิษกัด 8 คน บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร  7 คน

การรับประทานอาหาร โภชนาการสมวัยไม่เพียงพอ 2 คน โดยมีแหล่งอาหาร ตอบว่าทำเอง 269 คน อาหารสำเร็จรูป 23 คน ซื้อจากตลาดสด 64 คน ร้านอาหาร 2 คน ส่วนรสชาติอาหารที่ควบคุม พบว่าคุมรสหวาน 229 คน เค็ม 212 คน มัน 206 คน เผ็ด 75 คน รสชาติที่ไม่ควบคุมมากที่สุดคือ รสเผ็ด  158 คน หวาน 65 คน มัน 60 คน เค็ม 48 คน  การกินจุกจิกหรือกินจุพบว่าไม่กิน 202 คน กินจุกจิก 65 คน กินจุ 6 คน พฤติกรรมกินอาหารสุกๆดิบๆ พบ 6 คน ทุก 1 สัปดาห์กินผัก ผลไม้หรือไม่? พบว่าทานทุกวัน 117 คน ประมาณ 4-6 วัน 80 คน ประมาณ 1-3 วัน 74 คน ส่วนดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 8 แก้วหรือไม่ พบว่าดื่ม 5-8 แก้วต่อวัน 124 คน ดื่มมากกว่า 8 แก้ว 112 คน ดื่ม 3-5 แก้ว 37 คน ดื่ม 1-3 แก้ว 4 คน

การออกกำลังกาย พบไม่ออกกำลังกาย 64 คน โดยมีกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกายมากที่สุด 162 คน ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 32 คน ออกกำลังแบบแอโรบิค หรือเดินเร็ว 26 คน บริหารข้อเข่า 24 คน วิ่งเหย่าๆ 23 คน โดยออกกำลัง 2-3 วัน/สัปดาห์ 88 คน ทุกวัน 78 คน 3-5 วัน/สัปดาห์ 47 คน 1 วัน/สัปดาห์ 10 คน อย่างไรก็ดี พบว่าใช้เวลาออกกำลังกายน้อยกว่า 30 นาที 139 คน มากกว่า 30 นาที 80 คน

ด้านอารมณ์ มีความกังวล เครียดจนนอนไม่หลับ 50 คน พักผ่อนไม่เพียงพอ 27 คน

ปัจจัยเสี่ยง พบว่าสูบบุหรี่ 31 คน โดยสูบมวนแรกในช่วง 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงหลังตื่นนอน 14 คนและสูบมวนแรกหละง 1 ชั่วโมงขึ้นไปหลังตื่นนอน 14 คน โดยสูบใบจากมากที่สุด 22 คน ยาเส้น 15 คน บุหรี่มวน 11 คน บุหรี่ไฟฟ้า 2 คน พบดื่มแอลกอฮอล์เกิน 4 กระป๋องหรือ 2 ขวดใหญ่ขึ้นไป พบดื่ม 24 คน ดื่มเดือนละ 1-4 ครั้ง 17 คน ดื่มทุกวันหรือเกือบทุกวัน 12 คน มีการใช้ยาชุด ยาแก้ปวด ยาลูกกลอน 21 คน มีการใช้ยาเสพติด 1 คน กรณีผู้ป่วยติดเตียง มีแผลกดทับ 2 คน รับยาไม่สม่ำเสมอ 9 คน มีปัญหาการมองเห็น 82 คน มีปัญหาการได้ยิน 49 คน ผู้สูงอายุมีภาวะปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะราดจนเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน 29 คน

ด้านสุขภาพจิตและสมอง ระดับความสามารถในการจัดการสุขภาพของตนเอง/ความต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่าในเกณฑ์มากที่สุด 17 คน มาก 88 คน ปานกลาง 79 คน น้อย 7 คน น้อยที่สุด 10 คน

ด้านเศรษฐกิจ สถานะการเงินในแต่ละเดือน พบว่าต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดและอดออม 187 คน ไม่พอใช้และต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อการใช้จ่าย 14 คน มีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอโดยไม่ต้องประหยัด 9 คน และมีเงินใช้จ่ายอย่างสบายและมีเงินเหลือเก็บ 53 คน โดยมีรายจ่ายหลักด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 37 คน ที่อยู่อาศัย 36 คน ด้านสุขภาพ 25 คน ด้านอาหาร 25 คน การศึกษา 8 คน ในการจัดการกับภาระหนี้สิน พบว่ามีไม่เพียงพอ 20 คน การมีอาชีพสำรองหรืออาชีพเสริมพบว่าไม่มี 171 คน มี 87 คน โดยส่วนใหญ่มีการออม 209 คน ไม่มีการออม 50 คน

ด้านสังคม พบว่าไม่มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 39 คน  ถูกทอดทิ้ง 1 คน รู้สึกโดดเดี่ยว 5 คน ในส่วนที่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมีการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม/วัฒนธรรม ประเพณี 180 คน เข้าร่วมการทำประชาคม 75 คน ทำกิจกรรมกลุ่ม/ชมรม 22 คน การเป็นแหล่งภูมิปัญญาให้ครอบครัวและชุมชน 13 คน

ด้านสภาพแวดล้อม พบว่าลักษณะบ้าน ต้องการปรับปรุง 19 คน เริ่มทรุดโทรม 9 คน โดยต้องการปรับปรุงห้องน้ำ 29 คน ห้องครัว 19 คน หลังคา 16 คน กำแพงรั้ว 16 คนห้องนอน 12 คน ในการจัดการขยะ มีการคัดแยกทุกครั้ง 168 คน ดำเนินการบางครั้ง 86 คน ไม่เคยดำเนินการเลย 11 คน

ความต้องการ ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย 78 คน ต้องการเบี้ยยังชีพ 54 คน เครื่องช่วยฟัง 50 คน ฝึกอาชีพ 33 คน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 15 คน เงินสงเคราะห์ 11 คน ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 9 คน ค่าอาหาร/ค่าเดินทาง 8 คน ปรับปรุงที่อยู่อาศัย 7 คน ไม้เท้าอลูมิเนียมแบบสามขา 5 คน ประกอบอาชีพ 4 คน รถนั่งคนพิการชนิดพับได้ 3 คน การฟื้นฟูทางจิต 2 คน รถเข็น 2 คน ผ้าอ้อม 2 คน ไม้เท้า 2 คน โครงโลหะช่วยเดิน 4 ขา 2 คน ผู้ดูแลแบบจ่ายเอง 1 คน แผ่นรองคัวสำหรับผู้ป่วยอัมพาต 1 คน บัตรประชาชน 1 คน

ที่ประชุมได้แบ่งกลุ่มย่อย 4 กลุ่มร่วมวิเคราะห์ข้อมูลผลการคัดกรองสุขภาวะรายคนเพื่อจัดทำแผนสุขภาวะชุมชน ประกอบด้วย(ร่าง)แนวทางแก้ปัญหาในแต่ละด้านดังนี้

1.ด้านสุขภาพ

-ส่งเสริมการออกกำลังกายตามรูปแบบที่เหมาะสมกับช่วงวัยและบริบทพื้นที่ อาทิ วัยทำงาน เต้นบาสโลป ผู้สูงอายุ รำกระบอง ยางยืด

-ปรับพฤติกรรมบริโภค "ลดหวาน มัน เค็ม เผ็ด" เน้น "ต้ม นึ่ง ลวก"

-ส่งเสริมความรู้ให้กับแกนนำ/อสม.ในด้านการบริโภค การออกกำลังกาย

-ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักยกแคร่

-ส่งเสริมเมนูอาหารสุขภาพประจำชุมชน อาทิ แกงเลียง แกงจืด แกงส้ม เน้นอาหารประจำถิ่น ปลา...อาทิ ปลาท่องเที่่ยว

-ปิ่นโตสุขภาพประจำตัว

-ลดการใช้เครื่องปรุงรส หรืออาหารแปรรูป

-ส่งเสริมการใช้สมุนไพรลดความอยากสูบบุหรี่ หรือใช้สมุนไพรเพื่อลดความดัน เบาหวาน

-คัดกรองกลุ่มเสี่ยง/ป่วยจากยาเสพติด ผู้ป่วยใช้กระบวนการชุมชนบำบัด ส่งต่อให้ทีม cbtx ประจำหมู่บ้าน

-สุขภาพจิต มีการคัดกรอง กรณีผู้ป่วยให้กินยาตามหมอนัด กลุ่มเสียงควรมีนักจิตวิทยาลงพูดคุยรายคนเดือนละครั้ง และให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวเพื่อร่วมกันดูแล

-ฝึกสมาธิ สวดมนตร์ ปฏิบัติธรรม

-พักผ่อนให้เพียงพอ

พร้อมกับมีข้อตกลงชุมชนประกอบด้วย

1.อสม.จะร่วมกันกับผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวหรือกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยร่วมกันคัดกรองภาวะสุขภาวะ โดยใช้แบบคัดกรอง iMed@home ในกลุ่มเสี่ยงคัดกรองทุกเดือน ส่วนกลุ่มป่วยคัดกรองทุก 3 เดือน และเริ่มดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมาย 485 คน บันทึกสภาวะสุขภาพผ่านระบบคัดกรองหรือใช้สมุดบันทึกสุขภาพรายคน

2.สมาชิกในชุมชนออกกำลังกายตามรูปแบบที่เหมาะสมในแต่ละหมู่บ้าน และแต่ละช่วงวัยอย่างน้อย 1 อย่าง สัปดาห์ละ 2-3 วัน ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที

3.ครัวเรือนเน้นการทำอาหารรับประทานกันเองมากกว่าซื้อจากตลาดสดหรืออาหารสำเร็จรูป มีการกำหนดเมนูสุขภาพในครัวเรือน ในชุมชน รวมถึงลดเครื่องปรุง เครื่องชูรส

4.กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยให้มีปิ่นโตสุขภาพประจำตัว

5.การประชุมสาธารณะ ใช้บริการอาหารสุขภาพหรืออาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพ โดยอุดหนุุนสมาชิกในชุมชนร่วมดำเนินการ

6.ครัวเรือนจะร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 ชนิด

2.ด้านสังคม

-เน้นการใช้กิจกรรมในชุมชนสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในชีวิต มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมสนทนา สันทนาการ กิจกรรมศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคน 3 วัย

3.ด้านเศรษฐกิจ

-รวมตัวกันในนามวิสาหกิจชุมชน เป็นคนกลางประสานงานการตลาดและการผลิต รวมถึงการเป็นคนกลางรับส่งผลผลิตจากสมาชิกนำไปจำหน่ายทั้งแบบ online หรือมีร้านค้าชุมชน

-ต่อยอดใช้ประโยชน์จากผึ้งหลวงเพื่อสร้างรายได้ และร่วมกับสถาบันการศึกษามีการวิจัยเพื่อพัฒนา/อนุรักษ์สายพันธุ์

-สร้างจุดขาย "ปลาท่องเที่ยว" ในรูปแบบเทศกาล หรือชูเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน

4.ด้านสภาพแวดล้อม

-นำขยะมาแปรรูปเป็นรายได้ ขยะเปียกมาทำปุ๋ยหมัก ขยะรีไซเคิลนำมาจำหน่าย จัดทำกองทุนขยะ

-ปรับสภาพบ้านตามสภาพความจำเป็น เน้นการมีราวจับในห้องน้ำ ป้องกันการพลัดตกหกล้ม

จากนั้นสมาชิกกลุ่มเสี่ยงและอสม.ร่วมกันทำแผนสุขภาวะรายคน ผ่านแอพ iMed@home โดยอสม.ทั้ง 36 คนจะลงไปร่วมกับกลุ่มเสี่ยง/ป่วยจัดทำแผนสุขภาวะรายคนให้ครบทั้ง 485 คน

ขั้นตอนต่อไป นำเสนอร่างแผนสุขภาวะและธรรมนูญชุมชนให้กับคณะทำงานระดับตำบล และนัดหมายจัดเวทีประชาพิจารณ์และประกาศใช้แผนและธรรมนูญชุมชนในช่วงมีนาคม-พฤษภาคม

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน