"ชุมชนควนลังกับการบริหารจัดการน้ำ"

by punyha @29 ก.พ. 67 15:49 ( IP : 171...69 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS , 4PW
  • photo  , 960x540 pixel , 93,893 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 105,808 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 184,380 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 99,306 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 111,691 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 111,362 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,369 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 102,866 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 96,468 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 112,775 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 108,116 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 146,232 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 105,883 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 110,249 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 110,899 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 166,974 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 171,533 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 150,485 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 141,861 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 154,020 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 183,129 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 190,395 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 185,822 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 178,635 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 178,157 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 144,177 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 149,536 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 152,295 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 155,870 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 122,553 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 133,101 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 116,077 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 131,984 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 139,159 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 94,936 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 129,322 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 91,791 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 93,893 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 192,451 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 78,664 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 196,582 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 87,821 bytes.

"ชุมชนควนลังกับการบริหารจัดการน้ำ"

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567  WorldBank ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา โครงการsuccess เมืองควนลัง ลงเก็บข้อมูลชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในเมืองควนลัง 2 ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ศึกษาเพื่อนำไปสู่รายงานและข้อเสนอแนะกับรัฐบาลไทยต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ชุมชนม่วงค่อม พื้นฐานเป็นคนดั้งเดิมของควนลัง พื้นที่โดยรวมเป็นชุมชนเกษตรกรรม อาชีพทำสวนยาง ทำนา สภาพภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มรวมน้ำจากต้นน้ำที่อยู่ตำบลทุ่งตำเสาไหลลงมาท่วมขังตามธรรมชาติ ชุมชนมีเวลารับมือล่วงหน้า 1วัน ก่อนน้ำจากต้นน้ำไหลแผ่ท่วมที่ราบและเอ่อล้นจากคลองต่ำ คลองนนท์ บวกน้ำที่ถูกถนนเพชรเกษมขวางไว้ น้ำท่วมใหญ่ล่าสุดคือปี2565 หลังเว้นวรรคท่วมไปนาน น้ำท่วมขัง 1-2วันก่อนไหลลงสู่คลองต่ำ ไปหาชุมชนหัวนอนกลาง ที่เป็นจุดรวมน้ำจากคลองนนท์ คลองต่ำ และน้ำที่สะท้อนกลับมาจากถนน และประตูปิดเปิดน้ำคลองต่ำ ที่ไม่สามารถระบายไปสู่คลองร.1รวมถึงมีการปิดท่อระบายน้ำจากการสร้างถนน ทำให้กลายเป็นพื้นที่ท่วมซ้ำซาก ปีไหนท่วมจะมีท่วมซ้ำ3-4ครั้ง

ทั้งสองชุมชน เริ่มกลายเป็นสังคมสูงวัย หนุ่มสาวไปทำงานต่างถิ่น อาชีพการเกษตรมิได้สร้างรายได้หลักอีกต่อไป คนต่างถิ่นเริ่มเข้ามากับหมู่บ้านจัดสรร ที่มีการขายที่ แต่ละหมู่บ้านมีการถมที่ เปลี่ยนทางน้ำ รวมถึงการสร้างถนนที่ไม่ได้ดูเรื่องการระบายน้ำ บ้านใหม่ๆก็ถมที่ ทางน้ำเดิมหายไป น้ำถูกบีบให้ไม่มีทางออก ทำให้เกิดการท่วมขังรอระบาย สร้างความเสียหายให้ทรัพย์สิน ทั้งสองชุมชนมีการแจ้งเตือนจากเทศบาลหรือชุมชนรับรู้และมีการแจ้งข่าวมาจากต้นน้ำผ่านเครือข่ายที่รู้จักในการเตรียมความพร้อม แต่มีบางส่วนที่ขาดความตระหนัก ด้วยเหตุน้ำไม่เคยท่วมมาก่อนบ้าง หรือคิดว่าท่วมไม่มากบ้าง ด้วยเหตุน้ำเว้นวรรคการท่วมมานานเกือบสิบปี(จากปรากฏการณ์เอลนิลโญ) ผนวกกับการเปลี่ยนทางน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การถมที่ การตื้นเขินของลำคลอง การบริหารน้ำของหน่วยงาน

จุดแข็งของชุมชนคือการเป็นสังคมเครือญาติ เทศบาลมีการประสานงาน แจ้งเตือน ให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ชุมชนช่วยเหลือกันและกัน บวกกับประสบการณ์เดิมทำให้มีการเตรียมตัวรับมือ ปรับตัวเพื่อลดความสูญเสีย

ข้อเสนอแนะโดยรวม

1.ทิศทางการพัฒนา/กิจกรรมการพัฒนาทั้งรัฐ เอกชนที่จะต้องคำนึงถึงระบบนิเวศ มองการแก้ปัญหาแบบภาพรวมมากกว่าแยกส่วน และเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

และร่วมกันจัดทำข้อมูลผังน้ำ เส้นทางน้ำ พื้นที่เสี่ยง พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พื้นที่รับน้ำ แผนผังภูมินิเวศ ภูมิสังคม ภูมิวัฒนธรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลกลางในการประกอบการพัฒนาและมีการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน มีการทำzoneingรักษาพื้นที่สาธารณะ พื้นที่รับน้ำ พื้นที่สีเขียว

2.ทางหลวง ชลประทาน อปท. ร่วมกันแก้ปัญหาถนนขวางทางน้ำ เพิ่มช่องทางระบายน้ำ คูระบายน้ำ หรือเพิ่มพื้นที่แก้มลิงแบ่งน้ำลดความสูญเสียให้ชุมชน มีการบริหารจัดการน้ำสมดุลทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม

3.ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงร่วมกับเทศบาล ภาคีเครือข่ายจัดทำแผนรับมือภาวะโลกเดือดอย่างมีส่วนร่วม บนฐานการเตรียมพร้อมถึงอนาคตที่จะมีความผันผวน ไม่แน่นอน คาดเดาได้ยาก ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จัดทำแผนผังภูมินิเวศ แผนเผชิญเหตุ มีการวางภาพอนาคต/การเตือนภัยที่สัมพันธ์กับระดับน้ำฝน100มม.ขึ้นไป การรักษาพื้นที่สีเขียว การส่งเสริมผู้ประกอบการ สร้างความรอบรู้เพื่อลดความสูญเสียและสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการมีแผนรองรับสังคมสูงวัย ซึ่งเป็นอีกความเสี่ยงที่กระทบชุมชนในอนาคตอันใกล้

ชาคริต โภชะเรือง  บันทึกเรื่องราว

สมโชติ พุทธชาติ ภาพบางส่วน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน