"Sand box ระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนมีส่วนร่วมในเขตเมือง"

by punyha @5 มี.ค. 67 13:26 ( IP : 171...57 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 960x540 pixel , 92,731 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 96,641 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 119,170 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 78,265 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 75,686 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 72,195 bytes.

"Sand box ระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนมีส่วนร่วมในเขตเมือง"

กรณีชุมชนแหลมสนอ่อน ทน.สงขลา  ผ่านการเรียนรู้และพัฒนา(DE)

1.ค้นหาประเด็นวิกฤตด้านสุขภาพ นั้นคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่อยู่อาศัย หนี้สิน...ชุมชนเลือกดำเนินการเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

2.การกำหนดภาพฝันร่วมของประเด็นวิกฤตที่เลือก(3-5ปี)

เป้าหมาย...กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยสามารถปรับพฤติกรรมเสี่ยง มีการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน และกำหนดกติกาชุมชนด้านสุขภาพ และร่วมระบบบริการสุขภาพ

3.การวิเคราะห์ความซับซ้อนของปัญหา

กลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มเสี่ยงและป่วย วัยแรงงาน ผู้สูงอายุ

ปัจจัยกำหนดสุขภาพ : พฤติกรรมเสี่ยง สาเหตุการป่วย

การเข้าถึงระบบบริการ กลไก ทุนทางสังคม

กำหนดตัวชี้วัด

1)จำนวนกลุ่มเสี่ยง/ปวยได้รับคัดกรอง

2)กลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยมีส่วนร่วมปรับพฤติกรรมทำแผนสุขภาวะรายคนผ่านระบบกลุ่ม iMed@home

3)ได้รับการพัฒนาศักยภาพ

4)ร่วมบริการดูแล ผู้  ป่วยที่บ้าน IMedCare ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

4.เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 49 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 128 คน พบปัญหาอ้วน/น้ำหนักเกิน ความดันโลหิตสูง เบาหวานไขมันในเลือดสูง

5.ระดมความคิดการแก้ไขปัญหาหรือออกแบบนวัตกรรม

คืนข้อมูลกลุ่มเสี่ยง/ป่วย

ประชาคม

จัดทำแผนสุขภาพชุมชน

ธรรมนูญ/กติกาชุมชน

ุ6.พัฒนาต้นแบบบริการปฐมภูมิโดยชุมชน

พัฒนาศักยภาพกลุ่มเสี่ยง/ป่วย

พัฒนาแบบคัดกรองสุขภาวะรายคน

แผนสุขภาวะรายคน

พัฒนาแอพฯ ระบบกลุ่ม iMed@home

เข้าสู่บริการ iMedCare ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

7.ดำเนินการให้ได้ตามที่ออกแบบ

กิจกรรม“แหลมสนอ่อน ปลอดโรค NCDs” ระยะที่ 1 ชุมชนจัดทำแผนสุขภาพ

“แหลมสนอ่อน ปลอดโรค NCDs” ระยะที่ 2 ชุมชนเรียนรู้และร่วมฝึกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ได้แก่ กะลาบิค

จัดทำแผนสุขภาพรายคน/ชุมชน ในระบบกลุ่มปิด iMed@home 21 คน

เปิดระบบบริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน"iMedCare อำเภอเมือง"

8.ประเมินตามตัวชี้วัด

ประเมินความเข้าใจต่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของสมาชิกในชุมชนจำนวน 32 คน
ติดตามประเมินผลการปรับพฤติกรรมผ่านระบบกลุ่ม iMed@home และผลการทำแผนและกติกาชุมชน ผ่านกลุ่มสมัครใจ 21 คน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน