"ประชุมกลุ่มย่อยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอสะบ้าย้อย" งานวิจัยระบบขนส่งผู้ป่วยสงขลา

  • photo  , 1706x960 pixel , 134,951 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 186,466 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 195,473 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 142,899 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 170,543 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 144,262 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 189,196 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 186,577 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 105,299 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 186,425 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 89,014 bytes.

"ประชุมกลุ่มย่อยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอสะบ้าย้อย"

วันที่ 17 มกราคม 2568 โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบระบบบริการรถรับส่งสาธารณะรับส่งผู้ป่วยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ม.ราชภัฎสงขลา จัดประชุมกลุ่มย่อยกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบบริการรถรับส่งสาธารณะผู้ป่วยพบแพทย์พื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย มีผู้เข้าร่วม 17 คน ประกอบด้วย รพ.สะบ้าย้อย อบต.บาโหย ทุ่งพอ คูหา สะบ้าย้อย จะแหน เขาแดง มูลนิธิชุมชนสงขลา ทีมวิจัยม.ราชภัฎ มีข้อสรุปสำคัญดังนี้

1.การบริการของอปท.ในพื้นที่ ส่วนใหญ่(ยกเว้นต.สะบ้าย้อย) มีรถกู้ชีพ 1 คัน และมีรถรับส่งผู้โดยสาร 1 คัน ให้บริการส่งผู้ป่วยโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่มีหลักเกณฑ์เอาไว้ รับส่งมายังรพ.สะบ้าย้อยเป็นส่วนใหญ่ มีบ้างที่ส่งต่อไปยังรพ.สงขลาหรือที่อื่นๆ (ตำบลบาโหยและธารคีรีอยู่ห่างไกลที่สุด) และมีอบต.ทุ่งพอ ที่มี Application สนับสนุนงานทางสาธารณสุขและบริการความต้องการของผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ทำหน้าที่คัดกรอง ADL ประสานการทำงานร่วมกับ CG เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุที่ใช้บริการ

2.ข้อมูลผู้ป่วยอำเภอสะบ้าย้อย ที่คาดว่าจะต้องใช้บริการรถรับส่ง 4-5,000 คน ปัจจุบัน รพ.สะบ้าย้อยจัดรถตู้บริการวันละ 9-12 คนโดยเฉลี่ย รับดูแลไปแล้ว 1,700 คน ในกลุ่มที่ต้องการเดินทางไปรพ.สงขลา ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเดินทางไปรพ.หาดใหญ่ 1,300 คน ไปรพ.ม.อ. 300 คน ไปรพ.นาทวี 1,000 คน และในส่วนการเดินทางนั้น จำแนกได้อีก 1)เดินทางไปด้วยรถส่วนตัว/เหมารถเพื่อนบ้าน 2)รถขนส่งสาธารณะ(มินิบัส) 3)รถตู้ของรพ.สะบ้าย้อย 4.ของอปท. 5)รถของมูลนิธิ/องค์กรทางศาสนา

3.ระบบของรพ. จะมีศูนย์ประสานส่งต่อ มีการโทรนัดหมายและประสานงานกับผู้รับบริการในช่วง บ่ายสอง-สี่โมงเย็นเท่านั้น ก่อนถึงวันบริการจะมีการโทรยืนยันอีกครั้ง และรถออกทุก 07.00 น. กลับประมาณ 15.00 น. รถตู้จะมีคนขับหมุนเวียนทำหน้าที่ รับผู้ป่วยได้ไม่เกิน 12 คนต่อครั้ง (เฉลี่ย 9-12 คน) และจ่ายเงินหลังกลับจากรพ.สงขลา

4.แนวทางการพัฒนาระบบ

4.1 ใช้ line OA จัดระบบบริการ โดยมีศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด(อบจ.) ระดับอำเภอ(รพ.สะบ้าย้อย) ระดับตำบล(อปท.) ยกเว้น ต.สะบ้าย้อยที่อยู่ในพื้นที่รพ.สะบ้าย้อย

4.2 จัดระบบข้อมูลผู้รับบริการ จำแนกเป็น 1)ประเภทฉุกเฉิน 2)ประเภทไม่ฉุกเฉิน แต่ละประเภทแยกประเภทผู้ปวยตามระบบของทางรพ.(รอข้อมูล) เช่น อายุกรรม ศัลยกรรม กระดูก ฯลฯ รวมถึงแยกย่อยเป็นโรคประจำตัว และดูความสามารถในการช่วยตัวเอง ในส่วนของข้อมูลนี้ควรจัดระบบร่วมกันทั้งจังหวัด ประสานงานกับสปสช.หรือรพ.ศูนย์เพื่อให้ได้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยในระบบ(ข้อมูลต้นทางอยู่ที่รพ.สต./รพ.อำเภอ/รพ.ศูนย์/สปสช.) เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการ โดยมี Admin ศูนย์ประสานงานทั้งระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบลทำหน้าที่ประสานงาน ลดช่องว่างและเติมเต็มการทำงานร่วมกันในภาพรวมระดับอำเภอ

4.3 จัดระบบรถบริการ นำขึ้นทะเบียนของระบบ ทั้งนี้นอกจากรถตู้ของรพ.แล้ว ยังมีความต้องการเอกชนมาร่วมให้บริการเพิ่มเติม ในส่วนของอปท.ส่วนใหญ่ยังไม่ได้จัดระบบบริหารจัดการร่วมกัน อบจ.ต้องการพัฒนาระบบในภาพระดับอำเภอนำร่อง(สะบ้าย้อย/นาทวี/เทพา) ดูแลในกลุ่มผู้ป่วย IMCและมะเร็ง สามารถเลือกอปท.นำร่องในส่วนงานวิจัยของม.ราชภัฎ(เช่น ตำบลทุ่งพอ)พัฒนาการให้บริการในภาพรวมร่วมกับรพ.สะบ้าย้อย รพ.สงขลา และยังต้องการอุปกรณ์การแพทย์ขนาดเล็กเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยติดรถไปด้วย

4.4 มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ต้องการรถตู้รับส่งผู้ป่วยระดับอำเภอและรถกู้ชีพอีกอย่างละ 1 คันเพื่อเสริมบริการในภาพรวม

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน