"พลังแห่งความเปลี่ยนแปลงอยู่ตรงไหน?"

by punyha @28 ธ.ค. 61 12:37 ( IP : 171...117 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 960x540 pixel , 43,710 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,831 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,860 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,796 bytes.

"พลังแห่งความเปลี่ยนแปลงอยู่ตรงไหน?"
เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

วันที่ 27 ธันวาคม 2561  ไปร่วมประชาคมการทำแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา 5 ปี(พ.ศ.2561-2565)ฉบับทบทวนประจำปี 2563 วางเป้าหมายการพัฒนาหรือวิสัยทัศน์ไว้ว่า "สงขลา ศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ ประชาชนมีคุณภาพ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน" มีข้อสังเกตหลายอย่างที่อยากจะสื่อสาร

1) งบพัฒนาจังหวัดเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการพัฒนาจังหวัด กล่าวคือมีงบเฉพาะต่อปีราวๆ 290 ล้านบาท(ปี 63) รองผู้ว่าอำพล แจ้งว่าในแต่ละปีสงขลาจะมีงบปกติของหน่วยงานต่างๆทั้งรัฐ เอกชน ประชาชน ราวๆ 30,000 ล้านบาท เช่นนั้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาไม่ได้อยู่ที่จังหวัดเป็นหลัก(ผมเข้าใจเช่นนี้) การวัดผลหรือทำแผนในภาพของจังหวัดเป็นได้เพียงกรอบอ้างอิงเพื่อให้มีทิศทางเดียวกัน หน่วยงานต่างๆก็มีแผนงานโครงการเป็นเอกเทศแค่จับใส่กล่องยุทธศาสตร์/วาระให้ได้ ยากจะมีโครงการใหม่ๆที่มาจากการบูรณาการด้วยกระบวนการจัดทำโครงการต้องเตรียมความพร้อมล่วงหน้า อยู่บนฐานข้อมูลอ้างอิงวัดผลได้(ในมุมแบบราชการ)

2)การทำแผนฯถูกบีบด้วยกฏหมายว่าจะต้องรับฟังความเห็น ทำให้จำเป็นต้องเปิดพื้นที่แต่ก็เป็นไปในลักษณะทำไปตามขั้นตอนเพราะจะต้องรีบเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานในระดับสูงต่อไป มีข้อท้วงติงว่าแผนงานโครงการยังเป็นโครงการเดิมๆทำให้แผนที่ได้ขาดพลัง ผิดฝาผิดตัว เขียนเป้าหมายไว้อย่าง แต่กิจกรรมที่รวบรวมมาจากหน่วยงานต่างๆกระจัดกระจายกันไปตามแนวทางของแต่ละองค์กร ไม่ได้มาจากการคิดร่วม ทำร่วม หรือมีการวิเคราะห์ในเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสม ทำให้ได้โครงการที่ทำซ้ำๆกันปีต่อปี ไม่อาจหวังผลตามเป้าหมาย แถมการวัดผลยังเลือกวัดตามมุมมองของแต่ละหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ เลือกวัดในบางตัวชี้วัดที่พอจะวัดได้(ตามข้ออ้าง)หรือวัดแบบงงๆว่าจะเป็นจริงได้อย่างไร เช่น ร้อยละหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับการแก้ไขปัญหายาเสพติดและเสริมความเข้มแข็ง 1217 หมู่บ้านเป้าหมายร้อยละ 100 เมื่อมาไล่ดูกับเป้าหมายจึงมีความเสี่ยงที่ไม่อาจสนองตอบเป้าหมายการพัฒนา เมื่อเห็นวิถีการทำงานของจังหวัดแล้วผมคิดว่าน่าทบทวนมากว่าวิธีการจัดทำแผนมีอะไรที่จะต้องปรับปรุงบ้าง ด้วยมีช่องว่างมหึมาของการทำงานที่ผมคิดว่าน่าเรียนรู้มากในการปรับเชิงระบบ ส่วนข้าราชการระดับปฎิบัติก็มีหน้าที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จตามเวลาและนโยบายก็น่าเห็นใจเช่นกัน

3)โครงการส่วนใหญ่ที่เสนอกันมา ยังอยู่ในประเภทโครงสร้างพื้นฐาน(นี่ขนาดตัดออกไปมากแล้ว) บางโครงการแค่ถมดินก็ 40 กว่าล้านบาทแล้ว ส่วนโครงการในส่วนคุณภาพชีวิตก็อยู่แถวๆล้านกว่าบาทแถมทำหลายกิจกรรมอีก อันนี้ไม่รู้ว่าไม่มีโครงการเข้ามาหรืออย่างไร

กลับมาแล้วพร้อมกับข่าวระเบิดนางเงือก ถามตัวเองว่าแล้วการเปลี่ยนแปลงมันเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดจากใคร

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน