เก้าอี้ ๔ ขา หัวใจงานพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลง

"เก้าอี้ ๔ ขา"

การทำงานในพื้นที่หากคิดในแง่ความยั่งยืน ควรประกอบด้วยขาการทำงานอย่างน้อย ๔ ขาที่เสมอกัน คือ

๑.ส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยตัวแทนกระทรวงต่างๆและพ่อเมืองรับนโยบายจากส่วนกลางนำมาสู่การปฎิบัติ หรือนำปัญหาจากพื้นที่ไปสู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย

๒.ส่วนท้องถิ่นและท้องที่ ในฐานะองค์กรภาครัฐส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ดูแลประชากรของตน โดยมีผู้บริหารที่เป็นนักการเมืองผ่านการเลือกตั้ง และกำนัน/ผญ.บ้าน ภายใต้ทิศทางการพัฒนาระดับตำบลเดียวกัน ยึดโยงกับประชากรทุกกลุ่มวัย

๒.ส่วนวิชาการ ทำหน้าที่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ใช้ความรู้ในการจัดการปัญหาหรือยกระดับการพัฒนา ซึ่งหมายรวมไปถึงภูมิปัญญา ปราชญ์ชุมชน ผู้นำทางจิตวิญญาณ

๓.ส่วนประชาสังคมและเอกชน ในฐานะองค์กรทางสังคม กลุ่ม ชมรม เครือข่าย สมาคม มูลนิธิ ที่จะมีบทบาทมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานตามประเด็นปัญหาและศักยภาพของตน

โดยมีระบบหรือพื้นที่กลางที่ยึดโยงขาทั้ง ๔ ให้ตั้งมั่นเสมอกัน บอกถึงความเป็นสนามพลังที่จะต้องสร้างด้วยกัน

ขาใดขาหนึ่งไม่อาจขาดจากกัน หากการขับเคลื่อนใดฝากไว้กับขาใดขาหนึ่งเพียงลำพังก็อาจจะไม่สามารถสร้างความต่อเนื่องและยั่งยืนได้ด้วยความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือระบบ

#พิ้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน