ข้อค้นพบจากการทำธรรมนูญชุมชน

  • photo  , 188x269 pixel , 7,735 bytes.
  • photo  , 188x269 pixel , 10,613 bytes.
  • photo  , 355x512 pixel , 70,477 bytes.
  • photo  , 807x960 pixel , 164,715 bytes.
  • photo  , 400x553 pixel , 79,278 bytes.

ข้อค้นพบจากการทำธรรมนูญชุมชน

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

๑.พื้นฐานสังคมและชุมชนมีประสบการณ์การทำธรรมนูญอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้วผ่านแนวจารีต วิถีปฎิบัติทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา รวมไปถึงกฏหมาย ระเบียบ กฏเกณฑ์ กติกา ข้อตกลง ที่เข้ามาตลอดเวลา

๒.แนวทางการเกิดมาได้ทั้งจากการสั่งการณ์ของผู้มีอำนาจ หรือมาจากการร่วมคิดร่วมทำด้วยกัน มีหลายระดับตั้งแต่ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน ภูมินิเวศ เชิงองค์กร เชิงประเด็น และกลุ่มเฉพาะ

๓.เป็นกระบวนการนโยบายสาธารณะ ได้ทั้งแบบกระแสหลักและรอง

๔.ธรรมนูญชุมชนที่อยากเห็น ควรมาจากกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม เป็นประสบการณ์ประชาธิปไตยพื้นฐาน ซึ่งไทยเรายังมีน้อย หรือมีก็เป็นแบบศรีธนญชัย

๕.ธรรมนูญชุมชนมีทั้งข้อตกลงร่วมที่ใช้ได้กับทุกคน เหมือนกับที่อื่น และเฉพาะบริบทของตน ในข้อหลังนี้เองที่เป็นพลังอันเกิดจากพื้นที่ หากมีความร่วมมือร่วมใจที่ดี ทุกฝ่ายมีส่วนร่วท ทำได้ดีจะพัฒนาไปสู่การกำหนดทิศทางและกรอบการพัฒนาของพื้นที่ในระยะยาว และทุกฝ่าย รวมถึงประชาชนสามารถปฎิบัติด้วยตนเอง ไม่ฝากภาระไว้กับหน่วยงานใด

๖.ตอนทำธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ สงขลา ที่นั่นมีประชากรไม่มาก สามารถทำการมีส่วนร่วมระดับครัวเรือนด้วยแบบสอบถาม รับฟังความเห็นจากกลุ่มย่อยหลากหลาย มีการทำแผนสุขภาพตำบลเพื่อสร้างความเข้าใจสุขภาพในมิติสุขภาวะเป็นพื้นฐาน และนายกขุนทองคือปัจจัยความสำเร็จสำคัญ แปรข้อมูลสุขภาวะของชุมชนออกมาเป็นข้อตกลง แต่ก็ยึดโยงกับหมวดหมู่ของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และริเริ่มมีข้อตกลงเฉพาะของพื้นที่ ใช้คำ ภาษาที่เข้าใจง่าย พร้อมกับมีสนง.เป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อความต่อเนื่อง

๗.ธรรมนูญยังสามารถดัดแปลงเป็นข้อตกลงเฉพาะเรื่องระดับจังหวัด ความคิดนี้นำมาสู่การทำข้อตกลง "การจัดเลี้ยงแบบบริการตนเอง" ในงานศพหรืองานพิธีต่างๆ สงขลาต่อยอดความสำเร็จของอำเภอนาทวีขยายผลไปทั้งจังหวัด ยั่งยืนอยู่ในวิถีชีวิต หน่วยงาน ประชาชนทำกันเอง ไม่จำเป็นจะต้องอาศัยงบประมาณจากภาครัฐ

๘.ธรรมนูญชุมชนยังสามารถก่อตัวจากการปฎิบัติ กำหนดเป้าหมาย ข้อตกลง แล้วทดลองทำปรับแก้จนกระทั่งมั่นใจ เกิดความรู้จากการปฎิบัติ ก่อนที่จะขยายผลประกาศเป็นธรรมนูญชุมชน วิธีการเช่นนี้เหมาะสำหรับสถานการณ์ที่ควบคุมได้ยาก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น สถานการณ์โควิด รูปแบบธรรมนูญชุมชนเช่นนี้กำลังทดลองทำกับคนจนเมือง ผ่านปฎิบัติการ "ปิ่นโตตุ้มตุ้ย"

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน