กิจกรรมความเคลื่อนไหวเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลาท้ายปี 2564

by punyha @29 ธ.ค. 64 09:55 ( IP : 171...178 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS , 4PW
  • photo  , 1477x1108 pixel , 199,722 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 146,397 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 147,125 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 156,199 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 147,801 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 212,169 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 199,099 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 171,014 bytes.

"มาตรการลดปริมาณขยะทะเลอย่างมีส่วนร่วม "

เวลา 13.00 - 14.30 น.  วันพุธที่ 22  ธันวาคม 2564 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา ร่วมกับสถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง  คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรระดับปริญญาโท) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้จัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อขยะทะเลบริเวณชุมชนชายฝั่ง เช่น ชุมชนแหลมสนอ่อน ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย
1.สมาชิกชุมชนแหลมสนอ่อน จำนวน 31 หลังคาเรือน จากจำนวนรวม 59 หลังคาเรือน

2.แกนนำจากชุมชนต่างๆในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน 7 ชุมชน (ชุมชนแออัดในที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์จำนวน 3 ชุมชน)

3.บุคลากรจากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา  ( ทำหน้าที่สังเกตการณ์การมีส่วนร่วมของชุมชน)

4.บุคลากรจากภาคเอกชน (ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลการมีส่วนร่วมของชุมชน )

รายละเอียดจากกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น พอจะสรุปได้ดังนี้ ประเด็นแรก  ปัญหาจากขยะทะเล ชุมชนสะท้อนให้เห็นว่า

-ส่วนหนึ่งของขยะทะเลเกิดจากกลุ่มผู้ประกอบการ / ผู้ค้าเร่แผงลอยที่ขายอาหารบริเวณชายหาด ไม่แนะนำให้ลูกค้าทิ้งขยะในถังขยะที่จัดให้

-พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งขยะในถังหรือภาชนะสำหรับทิ้งขยะ

-สุนัขจรจัดและลิง รื้อคุ้ยถังขยะทำให้ขยะกระจายเกลื่อนชายหาดหรือถูกลมพัดปลิวลงทะเล

-ช่วงฤดูมรสุม บริเวณชายหาดต่างๆเทศบาลนครสงขลา ขยะทะเลจะถูกคลื่นซัดมาเกยเป็นกองๆ

ประเด็น การใช้ประโยชน์จากขยะทะเล  ชุมชนระบุว่า

-ขยะทะเลส่วนใหญ่ที่มาเกยตื้นบริเวณชายฝั่งในช่วงฤดูมรสุม สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชาวชุมชนที่จะรีบตื่นตั้งแต่เช้ามีดเพื่อไปเก็บขยะทะเลได้ประมาณวันละ หลักร้อยถึงหลักพันบาท

-ขยะทะเลประเภทไม้ เช่น ไม้ไผ่ จากโป๊ะดักปลา สามารถนำมาใช้ทำแผงตากปลา  ทำรั้วบ้าน

-ขยะทะเลประเภทอวน สามารถนำไปขายได้

-ขยะพลาสติก เช่น แกลลอน  สามารถนำไปขายได้

ประเด็นแนวทางการป้องกัน  การแก้ไขปัญหาและการเสนอมาตรการ ชุมชนได้ร่วมกันเสนอแนวคิดดังนี้

-ท้องถิ่นควรมีมาตรการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดและปัญหาลิงรบกวนอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรม อย่าใช้วิธิการจัดประชุมให้ชุมชนเสนอความคิดเห็นแล้วเพิกเฉย ไม่ดำเนินการใดๆ

-ชมรมหรือองค์กรที่ปกป้องสุนัขจรจัดและลิง ควรตระหนักและรับรู้ถึงความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินที่ชุมชนได้รับจากปัญหาสุนัขจรจัดและลิงรบกวน นอกจากนี้ควรหาวิธีจัดสถานที่ดูแลสุนัขจรจัดให้ห่างไกลชุมชน

-ปัญหามีถังขยะไม่เพียงพอในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในเขตเทศบาลนครสงขลา ท้องถิ่นควรจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อถังขยะเพิ่มเติม

-กรณีการจอดรถยนต์บริเวณที่วางถังขยะ ควรมีมาตรการหรือการลงโทษที่ชัดเจนเซึ่งมีชุมชนหนึ่งได้เล่าว่า  รถเก็บขยะไม่สามารถเข้าไปยกถังขยะได้เนื่องจากมีรถยนต์จอดขวางอยู่ พนักงานเก็บขยะต้องใช้วิธีรื้อขยะขึ้นมาจากถัง วางไว้บนหลังคารถยนต์เพื่อเป็นการลงโทษ

-ชุมชนแหลมสนอ่อน เสนอการจัดการขยะแห้งโดยการทำขวดขยะ ( Eco brick)

-ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน เสนอให้ท้องถิ่นทำการขุดลอกปากคลองสำโรงเพื่อน้ำจะได้ไหลสะดวกและขยะไม่อุดตันจนเกิดน้ำท่วมขัง

-ชุมชนนอกสวน  ชุมชนพัฒนาใหม่และชุมชนภราดรได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาและเสนอมาตรการว่า การจัดการขยะทะเลและขยะประเภทต่างๆ ภาครัฐควรทำอย่างต่อเนื่อง  รวมถึงควรมีการติดตามประเมินผลอย่างจริงจังเมื่อมีการส่งมอบงบประมาณการจัดการขยะให้แก่ผู้นำชุมชน เนื่องจากผู้นำชุมชนได้นำงบประมาณไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

สำหรับโครงการเกี่ยวกับการจัดการขยะทะเลนั้น ชุมชนแหลมสนอ่อนได้จัดทำโครงการรักษ์ทะเลเสน่ห์แหลมสนอ่อนเมื่อปี 2563 แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด - 19 ทำให้ต้องชะลอโครงการไว้ก่อนจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

สำหรับความคิดเห็นของชุมชนเกี่ยวกับขยะทะเลนั้น ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะนำไปจัดทำเป็นร่างมาตรการเสนอต่อที่ประชุมระดับจังหวัดเพื่อพิจารณาออกเป็นนโยบายที่ชัดเจนและสามารถนำไปสู่การป้องกัน แก้ไขปัญหาได้ในระยะต่อไป

การประเมินการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนของหลังคาเรือนในชุมชนแหลมสนอ่อน  สำหรับ กิจกรรมวันที่ 22 ธันวาคม 2564  ณ ที่ทำการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อน

สรุปข้อมูลได้ดังนี้

ข้อมูลหลังคาเรือนทั้งหมด จำนวน  59 หลังคาเรือน

ข้อมูลหลังคาเรือนที่เจ้าของไม่ได้อาศัยอยู่ เอง / ให้เช่าหรือเซ้งจำนวน 13 หลังคาเรือน คิดเป็นจำนวน  22.03 %

ข้อมูลหลังคาเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 31 หลังคาเรือน  คิดเป็นจำนวน 52.54 %

ข้อมูลหลังคาเรือนที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม  จำนวน 15 หลังคาเรือน  คิดเป็นจำนวน 25.42 %

ที่มาข้อมูล : เอกสารการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน

ผลการดำเนินงาน โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนฯ โดย เครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา เทศบาลนครสงขลา ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)

ข้อมูลเบื้องต้น ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ สามารถสรุปได้ดังนี้

แผนที่ทำมือชุมชนจัดทำแล้วจำนวน ๑๐ ชุมชน ๑๖ ชุด  (แผนที่ที่ตั้งหลังคาเรือน แผนที่ครัวเรือนผู้ติดเชื้อ แผนที่ครัวเรือนที่ต้องการย้ายออกและหาที่อยู่ใหม่ )

เกิดช่องทางการสื่อสารของเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา จำนวน ๑ ช่องทางคือ กลุ่มไลน์ " เครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา"


เกิดกลุ่มเยาวชนจำนวน ๑ กลุ่ม

มีการสำรวจข้อมูลครัวเรือนแล้ว จำนวน  ๑๐ ชุมชน

เกิดการจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชน จำนวน ๑๐ กลุ่ม ๑๐ ชุมชน ดังนี้

๑.ชุมชนแหลมสนอ่อน (ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๖๐ ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน)  สมาชิกจำนวน  ๗๕  ราย

๒.ชุมชนนอกสวน  สมาชิกจำนวน ๒๐  ราย

๓.ชุมชนศาลาหัวยาง  สมาชิกจำนวน  ๑๐ ราย

๔.ชุมชนศาลาเหลืองเหนือ  สมาชิกจำนวน ๑๐ ราย

๕.ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน  สมาชิกจำนวน ๕๐ ราย

๖.ชุมชนพัฒนาใหม่  สมาชิกจำนวน  ๒๐ ราย

๗.ชุมชนเมืองใหม่พัฒนา  สมาชิกจำนวน ๑๐ ราย

๘.ชุมชนหลังโรงพยาบาลจิตเวช สมาชิกจำนวน ๕๐ ราย

๙.ชุมชนภราดร  สมาชิกจำนวน ๓๐ ราย

๑๐.ชุมชนสนามบิน  สมาชิกจำนวน ๒๕ ราย

วัตถุประสงค์สำคัญของ ๑๐ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ตามราบชื่อข้างต้นคือ
-เพื่อสะสมเงินสำหรับการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของตนเอง  โดยมีกิจกรรม  คือ การฝาก และ การถอน เท่านั้น ไม่มีกิจกรรมการให้กู้และไม่มีปันผล

-เพื่อเริ่มต้นการมีระเบียบวินัยทางการเงิน ระดับครัวเรือนและระดับชุมชน

-เพื่อแสดงให้เห็นการรวมกลุ่มที่ชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น


#สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

#มูลนิธิชุมชนสงขลา

#สมาคมอาสาสร้างสุข

#เทศบาลนครสงขลา

#คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

#มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

#ศูนย์นิติศาสตร์ชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ

#ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสงขลา

บุณย์บังอร ชนะโชติ บันทึกเรื่องราว

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน