มหากาพย์การรื้อถอนบ้านเรือนชุมชนแหลมสนอ่อน

by punyha @1 พ.ค. 65 11:01 ( IP : 124...237 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 882x432 pixel , 85,498 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 246,337 bytes.
  • photo  , 871x427 pixel , 90,174 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 105,066 bytes.
  • photo  , 960x432 pixel , 101,870 bytes.
  • photo  , 1907x858 pixel , 145,848 bytes.
  • photo  , 1907x858 pixel , 165,267 bytes.
  • photo  , 1907x858 pixel , 181,007 bytes.

ข้อมูลจากกลุ่มไลน์ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อน

29 เมษายน 2565

ขออนุญาตอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจในชุมชนตามที่ได้รับมอบหมายมาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในชุมชน

ส่วนที่ 1 ข้อมูลชุมชนแหลมสนอ่อน

-จำนวนประชากร ประมาณ 211 คน(เดือนธันวาคม 2564)

-จำนวน 59  หลังคาเรือน

ส่วนราชการได้ทำการคัดแยกลักษณะอาคาร  ดังนี้

1.จำนวน 7 หลังคาเรือน ถูกออกคำสั่งรื้อถอน

2.จำนวน 52 หลังคาเรือน ที่ยังไม่มีการออกคำสั่งรื้อถอน

คำถาม  : ทำไมจึงมีการประกาศเผยแพร่ทางสื่อต่างๆว่าจะมีการรื้อถอนอาคารบ้านเรือนในชุมชนแหลมสนอ่อนทั้งหมด

คำตอบ  : จากการมีบ้านเรือนและอาคารต่างๆ ทำการต่อเติมและปลูกสร้างขึ้นมาใหม่ในบริเวณพื้นที่ชุมชนของพวกเรา เอง ทางจังหวัด เทศบาลและธนารักษ์ ได้มองภาพรวมๆของชุมชนแหลมสนอ่อนแล้วได้มีความคิดเห็นตรงกันว่า พวกเราทั้งชุมชนต้องร่วมกันรับผิดชอบในการปล่อยปละละเลยหรือเพิกเฉย ปล่อยให้เพื่อนร่วมชุมชนกระทำความผิดโดยไม่มีการว่ากล่าวตักเตือน  จึงควรให้ทำการรื้อย้ายชุมชนแหลมสนอ่อนไปอยู่ที่อื่นโดยไม่มีการเยียวยาหรือหาพื้นที่รองรับให้ใดๆทั้งสิ้น ชุมชนใดที่ปล่อยให้มีการทำความผิดอย่างเปิดเผย สมรู้ร่วมคิด และแม้แต่การเพิกเฉยต่อการทำความผิด กลุ่มหรือชุมชนนั้นๆควรจะให้มีแยกย้ายหรือสลายกลุ่มสลายชุมชนไปเสียจะได้ไม่รวมตัวกันทำความผิดต่อไปอีก

คำถามต่อมา คือ  จะรู้ได้อย่างไรว่า ใครหรือบ้านเรือนหลังไหน ทำความผิด ต่อเติมหรือปลูกสร้างใหม่

คำตอบคือ ธนารักษ์และ ผ.อ.ในสำนักช่างมาเดินสำรวจในสวน  80 พรรษาเมื่อเดือนธันวาคม 64 แล้วพบว่ามีการสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ อันเป็นการแสดงออกที่ชัดเจนโจ่งแจ้งว่า ตั้งใจทำ และไม่เกรงใจในอำนาจรัฐแต่อย่างใดเลย  ยังไม่ได้ทำสัญญาเช่า ชุมชนยังไม่เจียมเนื้อเจียมตัว อีกทั้งมีพฤติกรรมที่แสดงออก แก้ตัวว่า ทำไมนาย ขาว ต่อเติม หรือ ปลูกสร้างใหม่ได้ แล้วทำไมตัวเราจึงจะทำไม่ได้  ขาดการคิดไตร่ตรองว่า นายขาวทำผิด แล้วทำไมเราจึงจะต้องทำผิดเพิ่มขึ้นอีก

ขั้นตอนต่อมา จึงได้มีการหยิบยก 8 รายที่ถูกออกคำสั่งรื้อถอนเมื่อครั้งปี 2560 และไม่มีอำนาจใดๆมาคุ้มครองอีกแล้ว หยิบขึ้นมามาพิจารณาและมีคำสั่งให้เทศบาลบังคับใช้อย่างทันที

ในขั้นตอนนี้ มีคำถามจากชุมชนอีกว่าถูกออกคำสั่งรื้อถอน 8 รายแล้วทำไมในเบืองต้นจึงทำการบังคับเพียงแค่ 7 ราย

คำตอบ ชาวชุมชนน่าจะตอบกันเองได้ว่า เพราะอะไร

วันนี้มาถึงคำถามที่ว่า ธนารักษ์เจ้าของพื้นที่ มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง

ธนารักษ์ให้ความเห็นว่า

1.ชาวชุมชนแหลมสนอ่อนต้องรับผิดชอบพื้นที่ชุมชนร่วมกัน และตัองปฎิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดเช่น ระเบียบของกรมธนารักษ์  เทศบัญญัติของเทศบาล  กฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

2.พี่อ้นเป็นผู้นำชุมชนที่แข็งแรง  อย่าใชีความแข็งแรงมาแบกชาวชุมชนที่ทำผิด ธนารักษ์อยากให้นำความแข็งแรงที่มีไปใช้ในการพัฒนางานที่สร้างสรรค์มากกว่า  ชาวชุมชนที่ไม่เคารพกติกาให้ปล่อยไป

3.ธนารักษ์ขอให้ทุกคนพยายามเข้าใจด้วยว่า ชุมชนต้องมีการเปลี่ยนแปลง

4.ถ้าหากมีสมาชิกชุมชนรายใด ถูกพิจารณาให้ออกไปจากชุมชนแห่งนี้  ชาวชุมชนแหลมสนอ่อนไม่ควรที่จะต่อต้านหรือคัดค้าน ธนารักษ์ย้ำว่า ต้องตัดใจยอมเสียส่วนน้อย เพื่อรักษาชุมชนและหลังคาเรือนส่วนใหญ่ไว้

5.ชุมชนแหลมสนอ่อน เป็นเพียงกลุ่มก้อนเล็กๆใช้ประโยชน์พื้นที่เพียงบางส่วนเท่านั้นเอง ก็ไม่ได้สร้างปัญหาให้แก่ธนารักษ์หรือเทศบาลมากนัก

ส่วนที่ 2 กรณีถูกออกคำสั่งรื้อถอน  สำนักช่างฝากคำแนะนำมาด้วยความห่วงใยว่า

1.รายที่ถูกสั่งรื้อบางส่วนและไม่กระทบชีวิตมากนัก ควรจะรื้อถอนเองให้เรียบร้อย คดีจะได้สิ้นสุด

2.รายที่ถูกสั่งรื้อทั้งหมด สำนักช่างอยากให้ไปยื่นหนังสือเพื่อผลดีในหลายประการ อย่ารอให้ถึงกำหนดที่เทศบาลจะต้องนำอุปกรณ์มารื้อถอนเองเพราะจะมีค่าใช้จ่าย และหากมีการต่อต้านขัดขวาง เทศบาลอาจจะใชีการแจ้งความและเรียกค่าปรับย้อนหลัง นับเป็นรายวันมาตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันได้

วันเดียวกันนี้ (29 เม.ย.65 )  ได้เข้าพบพัฒนาการอำเภอเมืองสงขลา นายสนิท รัตนสำเนียง เพื่อหารือการแก้ไขปัญหาความยากจนของคนจนเมืองบ่อยาง เทศบาลนครสงขลา
สถานที่พูดคุยบริเวณชั้นล่างของที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลา เนื่องจากชั้นบนไม่มีทางขึ้นสำหรับวีลแชร์

นำเสนอภาพบ้านเดี่ยวหลังคามุงสังกะสีปลูกสร้างมานานประมาณ 40 ปีแล้ว ตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุ พื้นที่ชุมชนแหลมสนอ่อน ซึ่งพยายามดำเนินการยื่นขอทำสัญญาเช่าต่อกรมธนารักษ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน (และจะพยายามต่อไป)
ส่วนอีกหลังเป็นบ้านหลังคามุงสังกะสี เช่นเดียวกันตั้งอยู่ในที่ดินเช่าเอกชน ชุมชนศาลาเหลืองเหนือซึ่งอยู่แถวใจกลางเมือง

บ้านทั้ง 2 หลังนี้เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางด้านที่อยู่อาศัยของคนจนเมืองบ่อยาง เทศบาลนครสงขลาที่หลายฝ่ายหลายหน่วยงานและองค์กร ต้องร่วมมือกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง


30 เมษายน 2565

เรียนสมาชิกชุมชนแหลมสนอ่อน

ช่วงบ่ายวันที่ 30 และช่วงเช้าวันที่  31 พฤษภาคม (เดือนหน้า) พอช.มีแนวคิดที่จะให้ชุมชนแหลมสนอ่อน เเป็นชุมชนนำร่องในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อความเข้มแข็งและมั่นคงของชุมชน ดังนั้นในวันที่ 30 (ภาคบ่าย) และ วันที่ 31 (ภาคเช้า) จะมีการจัดประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำข้อมูลชุมชน  โดยแบ่งออกเป็น

-ภาคบ่ายของวันที่ 30 และภาคเช้าของวันที่ 31 พ.ค. ชาวชุมชนรอต้อนรับเจ้าหน้าที่ พอช. รวมถึงหน่วยงานราชการที่สนับสนุน และชุมชนในเขต 1 เทศบาลนครสงขลา

ทั้งนี้ก็จะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และสื่อมวลชน มาร่วมกิจกรรมที่ชุมชนด้วย

สถานที่จัดกิจกรรม ณ  ที่ทำการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อน  21/27 ถนนแหลมสนอ่อน
ก่อนหน้า 2 วันนั้นชุมชนต้องมาพบกันเพี่อจัดเตรียมความพร้อมก่อนนะคะ

มีเกร็ดย่อยๆของชุมชนแหลมสนอ่อนมาพูดถึงสักสองสามมุม เพื่อการแก้ไขปัญหาชุมชนจะได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดลงบ้างในบางมุม

มุมแรก คือ จุดยืนที่ชัดเจนของแต่ละบ้านว่า จะเอายังไง

-จำนวนหลังคาเรือนที่แท้จริงของชุมชนแหลมสนอ่อน คือ 59 หลังคาเรือน (ตามที่ทีมจิ๊กโก๋แจ้งกับเทศบาลและพูดต่อๆกันแม้แต่ระดับจังหวัดว่า 44 รายนั้นไม่ใช่ข้อมูลจริง พี่ๆน้องๆในชุมชนลองช่วยกันเดินนับดูนะคะว่า 44 หรือ 59 )

-จำนวน 59 หลังคาเรือนนี้ อ้นให้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรมาทุกปีและเป็นระยะๆว่า ยืนยันจะเช่าตรงกับธนารักษ์จำนวนกี่ราย ข้อมูลก็ไม่เคยตรงกันสักครั้ง อ้นสรุปส่งจังหวัดบ้างเทศบาลบ้างธนารักษ์บ้าง มีอยู่ไม่กี่รายที่ใจแน่วแน่และ ยืนยันว่าจะขอเช่ากับธนารักษ์


มุมทึ่ 2 คือด้านการพูดและการสื่อสาร  หน่วยงานหลายหน่วยฝากมาว่า อยากเห็นคนแหลมสนอ่อน " พูดจริง" มากขึ้นอีกสักนิด

-เทศบาล เพิ่งรู้ความจริงว่า อ้นไม่ใช่แกนนำที่พาคนไปยื่นฟ้องนายกสมศักดิ์เป็นแกนนำใหม่ทึ่เอาเอกสารของอ้นไป และไม่ใช่แกนนำที่ประกาศขายที่ดินในชุมชนแปลงละล้าน และ อ้นก็ไม่ใช่แกนนำที่พาคนแหลมสนอ่อนไปพบนายทุนเพื่อเสนอขายที่ดิน ไปกันทีละรายสองราย จนข่าวรู้ไปถึงระดับจังหวัดว่า มึการซื้อการขายที่ดินหลวงกันอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมายใดๆ อีกทั้งไม่รักแผ่นดินถิ่นที่อยู่ ภาพรวมของชุมชนแหลมสนอ่อนจึงถูกเหมาว่า ควรจะให้ออกให้ไปอยู่ที่อื่น เพราะอยู่ที่ไหนก็น่าจะไม่แตกต่างกัน


-การพูด การให้ข่าว สื่อเริ่มงงๆว่า ชาวบ้านจะเอายังไงกันแน่  ว่า ชาวบ้านจะตั้งใจอยู่ที่นี่ต่อไป หรือจะย้ายออกไปอยู่ที่อื่นเพราะถ้าตั้งใจจะอยู่ที่นี่ คงจะไม่มีการให้ข่าวเช่น. อ้นไม่ทำอะไรเลย /เพิกเฉยต่อความเดือดร้อนของเพื่อนร่วมชุมชน/ อ้นเป็นแกนนำที่พาคนไปเช่ากับธนารักษ์เลยทำให้8 รายถูกรื้อถอน ถ้าพาไปเช่ากับเทศบาลป่านนี้ไม่เดือดร้อนกันขนาดนี้

(ตัวเลขตามเอกสารที่ระบุคือ ส่วนน้อยที่ไปทำสัญญาเช่ากับเทศบาล ส่วนใหญ่ยืนยันเช่ากับธนารักษ์ )

การพูด การสื่อสาร การให้ข่าวของพวกเรา คงต้องเพิ่มการไตร่ตรองและยั้งปากกันขึ้นบ้างแล้วล่ะนะคะ

หัวหน้าตั้งคำถามมาว่า อ้นจะเลือกที่จะรักษาบ้านส่วนใหญ่และชุมชนให้อยู่ หรือจะเอาความมัน ความเร้าใจในอารมณ์ของคนส่วนน้อย จะเอาอย่างไหน กลุ่มไหนเป็นหลัก ถ้ามีคำตอบแล้ว ให้แจ้งไป

คนส่วนน้อยของชุมชนคือ คนที่ตั้งใจกระทำความผิดและพยายามหาแนวร่วมเพื่อให้การทำผิดของตัวเองเป็นการทำถูกเพราะมีคนทำตาม

ส่วนราชการมองมาจากข้างบน ย่อมจะมองเห็นอะไรที่มากกว่าพวกเรามองด้วยกันเอง พวกเราอยู่ในพื้นดิน ระนาบเดียวกัน จึงมองเห็นเพียงมุมเดียว

เริ่มต้นการพูด การคิดที่สะอาดกันเสียตั้งแต่วันนี้นะคะ

อดีตนายกสมศักดิ์มีคำขอโทษและการขอรับผิดมาถึงอ้นเป็นการส่วนตัวว่า กรณีความเดือดร้อนจากการออกคำสั่งรื้อถอนนั้น ส่วนหนึ่งท่านทำผิดจริง แต่มีมุมที่ทำให้ท่านต้องทำ เพราะข้อมูลที่ได้รับไม่ตรงกับความจริง

อ้นตอบกลับไปเมื่อวานนี้ว่า ส่วนตัวของอ้นนั้น อ้นให้อภัย เพราะทุกอย่างไม่สามารถย้อนกลับไปได้แล้ว ความเดือดร้อนได้เกิดขึ้นแล้ว

อ้นขอยืนยันอีกครั้งนะคะว่า ผลงานการหยุดและถอนกำลังอุปกรณ์พร้อมบุคลากรออกจากการรื้อถอนบ้านพี่ทองเรียงเมื่อเช้าวันทีา 27 เมษายนนั้น เป็นผลของการเจรจาของ " อ้น" ในฐานะตัวแทนของชุมชนแต่เพียงผู้เดียว และทางเทศบาลเองก็อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถจะทำได้ภายใต้ระเบียบ กฎหมายและอำนาจที่มี ไม่ได้เพราะความเป็น " ผู้วิเศษ" ของใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ทิ้งท้ายไว้ด้วยมุมเล็กๆอีกมุมนึง คือ บ้านของนางบุณย์บังอร ชนะโชติ ถูกออกคำสั่งรื้อถอน และรื้อถอนตามคำสั่งแบบเงียบๆมาแล้ว 2 ครั้งค่ะ ล่าสุดคือเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานี่เองค่ะ ตอนนั่งวีลแชร์อยู่ล่ะค่ะ ฉะนั้นชาวชุมชนที่เข้าผิดว่าชีวิตส่วนตัวอ้นนั้นสุขสบายเหนือเพื่อนร่วมชุมชน นั้น เป็นการเข้าใจผิดค่ะ

27 พฤษภาคม 2565  การประปาส่วนภูมิภาค สาขาสงขลา ได้เชิญ อ้น ทำงานเป็นสื่อกลางระหว่างการประปาสงขลากับชุมชน ครัวเรือนในชุมชนของพวกเราที่ยังไม่มีน้ำประปาใช้  เให้จัดตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอใช้น้ำประปา  ค่าติดตั้งและต่อท่อหากว่าไม่เกิน 10 เมตร เตรียมค่าใช้จ่ายไว้ประมาณ 3,600 บาทนะคะ เตรียมกันไว้เลยค่ะ เดือนมิถุนายน อ้นจะรวบรวมยื่นขอพร้อมกัน

บุณย์บังอร ชนะโชติ  บันทึกเรื่องราว

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน