"SUCCESS 12 เมือง"

by punyha @3 มิ.ย. 65 08:37 ( IP : 171...203 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x540 pixel , 65,080 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 394,416 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 394,891 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 401,737 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 208,059 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 316,752 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 230,040 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 428,203 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 449,904 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 423,950 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 371,974 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 456,031 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 253,339 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 299,649 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 159,800 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 114,820 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,226 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,593 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,957 bytes.

"SUCCESS 12 เมือง"

วันที่ 2 มิถุนายน 2565  เครือข่ายเมืองทั้งอิสานและภาคใต้ 12 เมือง ภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง(SUCCESS) โดยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ได้ร่วมนำเสนอผลการประเมินความเปราะบางของเมือง

เมืองที่เข้าร่วมมีทั้งเมืองหลัก เมืองบริวาร เมืองระดับอำเภอ ตำบล และมีลักษณะเป็นเมืองหลักที่เติบโตเต็มที่มีทั้งความเจริญทางวัตถุ การบริโภคแต่ก็เต็มไปด้วยประชากรแฝง คนจนเมืองที่มีปัญหาความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย การเข้าถึงสิทธิ์พื้นฐาน เมืองบริวารที่กำลังขยายตัวจากชุมชนเกษตรมาเป็นเชิงท่องเที่ยว เชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัย และเมืองชายแดนที่ประสบปัญหาจากประเทศเพื่อนบ้านหรือการค้าชายแดน

พบปัญหาร่วมจากการใช้ประโยชน์ที่ดินขาดความสมดุล เมืองกำลังขยายตัวเพื่อที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์มากขึ้น หากป้องกันไม่ดีต่อไปจะมีประชากรแฝง/คนจนจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัย ดังเช่นหัวเมืองหลักในแต่ละภูมิภาคเป็นอยู่ การขยายตัวเช่นนี้ส่งผลให้พื้นที่สีเขียวลดลง ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง มีการถมที่ขวางทางน้ำ เปลี่ยนทางน้ำ ผังเมืองเองเปลี่ยนไปทั้งเกิดจากนโยบายให้แก้สี หรือไม่สามารถควบคุม อีกทั้งกระบวนการทำผังเมืองยังขาดการมีส่วนร่วม และยังพบโครงการขนาดใหญ่ หน่วยงานส่วนกลางที่ลงมาใช้ประโยชน์แต่ส่งผลกระทบทั้งบวกและลบให้กับเมือง

ขณะที่ชุมชนอยู่แบบตัวใครตัวมันมากขึ้น มีชุมชนรูปแบบใหม่ที่มีคนหลากหลายมาอยู่ด้วยกัน ทั้งคนใน คนต่างถิ่น ต่างด้าว ซึ่งไม่ได้อยู่ในสาระบบของการจัดการของภาครัฐ อย่างไรก็ดี ทุนสำคัญที่ชุมชนใช้ในการรับมือและปรับตัวกับภาวะความเสี่ยงจากพิบัติภัยคือ ทุนมนุษย์(ความรู้ เงินออม) และทุนทางสังคม(ญาติพี่น้อง เครือข่าย) หน่วยงานช่วยเหลือได้น้อยมาก แถมไม่ตรงจุด ยกเว้นสิทธิพื้นฐาน และแนวทางแก้ปัญหาของหน่วยงาน เน้นแก้ปัญหาตามสภาพปัญหาที่เคยเกิด ซึ่งเมื่อได้โครงการลงมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของปัญหาไปแล้ว ขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความผันผวน ไม่แน่นอน ไม่เกิดซ้ำอยู่กับที่ ทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณ ไม่ได้ผล หรือแก้ปัญหาหนึ่งแต่สร้างปัญหาอื่นตามมา

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ให้ความสำคัญ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นภาวะปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน รวมถึงน้ำแล้ง และภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้น

แนวทางแก้ปัญหา อาทิ

1.กลไกกัลยาณมิตรในการปรึกษาหารือ สอดคล้องกับภูมินิเวศ เป็นพหุภาคี มีความต่อเนื่อง สามารถประสานความร่วมมือ กำหนดทิศทาง แผน/ข้อตกลง จัดการความรู้ และประเมินติดตามผล

2.ร่วมสร้างชุมชนใหม่ เพิ่มทุนสำคัญที่ชุมชนใช้ในการรับมือและปรับตัวคือ ทุนมนุษย์(ความรู้/การสื่อสาร/การเข้าถึงระบบเตือนภัย) ทุนทางสังคม(เครือข่าย) และการเงิน(ธุรกิจเพื่อชุมชน) และความหลากหลายของระบบนิเวศ  ผ่านเครือข่ายความร่วมมือ

3.การสื่อสารสาธารณะให้เกิดความรู้ร่วม ถึงปัญหาอุปสรรคการพัฒนา การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมผลักดันเชิงนโยบายสาธารณะ ให้เกิดการกระจายอำนาจการบริหารจัดการจากส่วนกลางให้ท้องถิ่น ชุมชนมากขึ้น


หมายเหตุ 12 เมืองประกอบด้วย เมืองบ้านไผ่ เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เมืองสามพร้าว เมืองหนองสำโรง จ.อุดรธานี เมืองสระใคร เมืองหนองคาย จ.หนองคาย และภาคใต้ เมืองละงู จ.สตูล เมืองโตนดด้วน จ.พัทลุง เมืองบ่อยาง เมืองควนลัง เมืองพะตง เมืองปาดังเบซาร์ จ.สงขลา

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน