"ต้นไม้ระบบสุขภาพชุมชนแหลมสนอ่อน"

  • photo  , 960x720 pixel , 106,468 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 119,244 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 119,852 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 114,105 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 107,897 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 112,101 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,690 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 181,313 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 163,749 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 158,498 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 145,191 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 133,021 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 152,563 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 199,100 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 153,715 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 185,421 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 195,737 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 153,596 bytes.

"ต้นไม้ระบบสุขภาพชุมชน"

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565  มูลนิธิชุมชนสงขลา ในฐานะพี่เลี้ยงนัดอย่างต่อเนื่องกับคณะทำงานถอดบทเรียนชุมชนแหลมสนอ่อน และเพิ่มตัวแทนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ อาศัยโครงการถอดบทเรียนการรับมือโควิด-๑๙ ที่ผ่านมายกระดับการทำงาน

เริ่มตั้งแต่ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ ให้ชุมชนเติมเต็มข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน กลุ่มองค์กรในชุมชน ชวนมองไปข้างหน้าข้ามพ้นปัญหาอันเป็นข้อจำกัดภายใน เช่น ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ปัญหาการถูกไล่รื้อจากภาครัฐ การเมืองท้องถิ่น อาศัยการวางรากฐานชุมชน ฟื้นฟูความสัมพันธ์ภายใน สะสมพลังในการก้าวเดินต่อไป

รอบนี้ลงลึกกับคนในชุมชน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ภายในกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน กับผู้นำทางการที่หมดวาระไปแล้ว กับผู้นำธรรมชาติ เห็นการขยายตัวของกลุ่มองค์กรภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างแกนนำกับสมาชิก ความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม พร้อมวิเคราะห์หาคนกลางที่จะเชื่อมโยงหรือสามารถพูดคุยได้กับทุกกลุ่ม จำแนกพื้นที่เป็น ๔ โซน แต่ละโซนวิเคราะห์จำนวนบ้าน หญิง-ชาย วิเคราะห์หาแกนนำมาเติมขบวนให้สามารถเป็น "ข้อต่อ" ในการประสานความสัมพันธ์ ชวนมาร่วมกิจกรรม

พร้อมจัดทำต้นไม้ระบบสุขภาพชุมชน เริ่มจากวิเคราะห์ในสถานการณ์ปกติเพื่อให้เห็นระบบบริการ ผู้คน อุปกรณ์ งาน เงิน คน(กิ่งก้าน ใบ ดอกผล) มองเห็นโครงสร้าง(ลำต้น) พร้อมกับวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานแห่งความสำเร็จ(ราก) มองทั้งมุมที่เป็นปัญหา และทุนทางสังคมในพื้นที่ ทำให้เห็นชัดว่ามีทั้งส่วนที่เกิดจากระบบของหน่วยงานส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนดำเนินการกันเอง ต้นทุนสำคัญก็คือ การเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร การมีกิจกรรมหรือข้อตกลงทุกวันที่ ๙ พร้อมหิ้วปิ่นโตมากินเที่ยงร่วมกัน มาพบกันทำกิจกรรมของกลุ่มออมทรัพย์  การสำรวจข้อมูลทำให้พบความทุกข์ของกันและกัน การเห็นทุกข์ร่วมคือปัญหาด้านที่อยู่อาศัย การคิดแบบพึ่งตนเองและช่วยเหลือกันเองนำมาสู่การก่อตั้งศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง

จากนั้นวิเคราะห์ในสถานการณ์โควิด-๑๙ เห็นได้ชัดว่าการมีทุนเดิมเหล่านี้ทำให้ยกระดับการทำงานได้เร็ว "ครัวกลางชุมชน : ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" ทำให้เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วมที่มาจากการปฎิบัติ นำปิ่นโตมาเป็นเครื่องมือช่วยเหลือเรื่องอาหารให้กับคนในชุมชนและในตำบล(การนัดรับส่ง การลงทะเบียนผู้ต้องการล่วงหน้า การแต่งกายของแม่ครัวฯลฯ) พื้นฐานความไว้วางใจที่เครือข่ายมอบให้สามารถระดมวัตถุดิบอาหารสุขภาพและความร่วมมือลงมาสู่พื้นที่ได้มาก การช่วยเหลือแบบไม่เลือกปฎิบัติทั้งเชื้อชาติ ภาษา สถานะ ทำให้เกิดพลังในชุมชน ยกระดับจิตสำนึกของผู้คน นำมาสู่การพัฒนาตนเอง เรียนรู้การบริหารจัดการวัตถุดิบ การส่งอาหารให้กับศูนย์พักคอย เป็นต้น

รวมถึงเห็นพลังของความร่วมมือ สมาชิกในชุมชนได้รับการฉีดวัคซีน ๑๐๐% ไม่มีการเสียชีวิต หรือเจ็บหนัก

ครั้งต่อไปนัดหมายแกนนำที่จะประสานมาเพิ่มเติม ชุมชนเห็นโอกาสที่จะสานพลังภายใน ลงลึกกับการวิเคราะห์สมาชิกทั้ง ๒๑๐ คน ทั้งในส่วนของเพศ อายุ ศักยภาพ ปัญหา วิเคราะห์กลุ่มเครือข่ายภายนอกที่มาเสริมหนุน พร้อมเตรียมจัดเวทีชวนสมาชิกทั้ง ๕๙ ครัวเรือนมาร่วม คืนข้อมูลพร้อมจัดระบบชุมชนต่อไป

มื้อเที่ยงเต็มอิ่มกับอาหารในปิ่นโตที่แต่ละบ้านหิ้วมาคนละสาย ทั้งอิ่มใจและอิ่มกาย

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน