ตามดูโมเดลปีกผีเสื้อ 'มูลนิธิชุมชนสงขลา' กับภารกิจพัฒนาบ้านเกิดอย่างยั่งยืน

by Knock Knock @10 ก.ค. 52 16:42 ( IP : 118...106 ) | Tags : บทความ , องค์ความรู้

ตามดูโมเดลปีกผีเสื้อ 'มูลนิธิชุมชนสงขลา'

เมื่อ ถึงคำว่า 'มูลนิธิ' ผู้อ่านหลายท่านคงคิดถึงหน่วยงานที่เกิดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ด้านการกุศล ช่วยเหลือสังคม โดยไม่มีการแสวงหากำไรหรือผลประโยชน์เพื่อตนเอง หลายวันมานี้

หลายท่านคงได้ยินชื่อ 'มูลนิธิชุมชนสงขลา' มูลนิธิแห่งนี้ คืออะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และเกิดขึ้นมาเพื่อใคร ชิต สง่ากุลพงศ์ ประธานผู้พิพากษาสมทบ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา อดีตประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา และนักธุรกิจผู้มีบทบาททางด้านการทำงานเพื่อส่วนรวมที่ได้รับการยอม รับจากสังคมในหลากหลายตำแหน่ง และเป็นประธานคณะทำงาน มูลนิธิชุมชนสงขลา กล่าวถึงการก่อตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลา ว่าเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ว่า "มูลนิธิของชุมชน บริหารโดยชุมชน เพื่อประโยชน์ของชุมชน"

หาก ย้อนกลับไปดูถึงที่มาของมูลนิธิชุมน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2457 หรือเกือบ 100 ปีมาแล้ว ณ เมืองคลิฟแลนด์ มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา และได้ขยายไปสู่เมือง อื่น ๆ ของสหรัฐฯ รวมทั้งในยุโรป แอฟริกา และเอเชีย โดยรูปแบบมูลนิธิชุมชนนั้นแตกต่างกันออกไในแต่ละประเทศ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยท้องถิ่น เช่น วัฒนธรรม การศึกษา การเมือง ธุรกิจ สวัสดิการสังคม ฯลฯ

สำหรับ ในประเทศไทย เกิดขึ้นในปี 2545 โดยการนำของนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ที่มีบทบาทในการทำงานเพื่อสังคมระดับแนวหน้าของเมืองไทย ได้ นำแนวคิด 'มูลนิธิชุมชน' มาพูดคุยกับภาคีสมาชิก 14 องค์กร และได้มีการผลักดันให้เกิดการทดลองทำในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และลำปาง ส่วนสงขลา เป็นหนึ่งในจังหวัดนำร่อง  ด้วยแต่ติดขัดด้วยปัญหาทาง เทคนิคจึงมีการยกเลิกไป ในส่วนของจังหวัดอุดรธานี และลำปาง ประสบความสำเร็จค่อนข้างน้อยเนื่องจากเกิดขึ้นโดยบุคคลภายนอก ส่วนร่วมของชุมชนมีน้อย และทุนส่วนใหญ่ก็มาจากภาย ฐานจึงไม่แน่น ชุมชนในพื้นที่มองไม่เห็นความสำคัญ

"การทำงานของมูลนิธิชุมชน จะอยู่ในลักษณะของโมเดลปีกผีเสื้อ คือปีกหนึ่ง มีหน้าที่ในการระดมทุน จัดหาทุน ซึ่งทุนในที่นี้เราไม่ได้หมายถึงเงินเพียอย่างเดียว แต่ยังหมายถึง ผู้มีจิตอาสา ทุนทางความคิด สติปัญญา แรงกาย แรงใจ ซึ่งต้องมีการรวบรมให้ครบทุกด้าน อีกหนึ่งปีก ทำหน้าที่ในการกระจายทุนให้ชุมชน โดยมีการจัดลำดับความสำคัญ ทำอย่างมีหลักการบนพื้นฐานของความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของชุมชน" ชาคริต โภชะเรือง นักวิจัย สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สวรส.ภาคใต้ มอ.) หนึ่งในกรรมการบริหาร มูลนิธิชุมชนสงขลา แนะนำถึงโมเดลปีกผีเสื้อ

ชิต สง่ากุลพงศ์ กล่าวถึงมูลนิธิชุมชนสงขลา ว่าเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคธุรกิจ และได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ซึ่งเป็น หน่วยงานภาคเอกชนที่ทำงานเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานที่มีเครือข่ายภาคประชาชน เครือข่ายชุมชน ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานสามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น

ในส่วนของมูลนิธิชุมชนสงขลา มีคณะกรรมการชุดก่อตั้ง จำนวน 9 คน ประกอบด้วย นายชิต สง่ากุลพงศ์ ประธานคณะทำงาน พระครูปลัดสมพร ฐานธมฺโม วัดคลองแห นายสมพร สิริโปราณานนท์ หอการค้าจังหวัดสงขลา นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ หอการค้าจังหวัดสงขลา นายอรัญ จิตตะเสโน ประชาสังคม นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล ประชาสังคม นายชาคริต โภชะเรือง ประชาสังคม นายพิชัย ศรีใส ประชาสังคม นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจะนะ และผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สวรส.ภาคใต้ โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ ณ วัดคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ภารกิจ แรกของมูลนิธิชุมชนสงขลา คือการจัดทำแผนที่ทางสังคม หรือ Social Maping มีแผนการทำงานครอบคลุมจังหวัดสงขลาทั้งจังหวัด โดยค้นหาแหล่งทุน รวบรวมผู้มีจิตอาสาในการทำงานเพื่อส่วนรวม ค้นหาปัญหาของแต่ละชุมชน มีคณะกรรมการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา หน้าที่ของมูลนิธิชุมชน เป็นเพียงผู้ประสานให้ผู้ให้และผู้รับได้มาพบกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน

"ปัญหาที่ผ่านมาเราพบว่าการแก้ปัญหาของชุมชน เราพบว่าการแก้ปัญหาโดยภาครัฐมักถูกแทรกแซงโดยการเมือง จังหวัดสงขลาของเรามีภาคเอกชนจำนวนมากที่ต้องการช่วยเหลือสังคม เพียงแต่ไม่มีหน่วยงานประสานที่จะนำผู้ให้ได้มาเจอกับผู้รับ การทำงานของเราจะใช้มูลนิธิชุมชนสงขลา เป็นตัวนำให้ผู้ให้และผู้รับมาเจอกัน แต่ทั้งนี้สิ่งที่เราพึงระวังเรื่องของความโปร่งใส ต้องมีผู้ตรวจบัญชี การใช้จ่ายทุกอย่างต้องตรวจสอบได้ เพราะเราหวังผลในการทำงานที่ยั่งยืนมิใช่การทำแบบฉาบฉวยและล้มหายไปในเวลา เพียงไม่กี่ปี ซึ่งเราได้บทเรียนมาแล้วจากหลายมูลนิธิ" สมพร สิริโปราณานนท์ หนึ่งในคณะกรรมการกล่าวเสริม

มูลนิธิ ชุมชนสงขลา เริ่มก่อเป็นรูปร่างที่ชัดเจนและเป็นหนึ่งในองค์กรที่จะร่วมผลักดันเพื่อการ พัฒนาจังหวัดสงขลา แผ่นดินอันเป็นที่รัก แผ่นดินเกิดของทุกคน ให้สามารถยืนหยัดเติบโตได้อย่างยั่งยืน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ประชาชน ภาคธุรกิจ จะสร้างความยั่งยืนให้แก่จังหวัดสงขลาได้มากน้อยแค่ไหน ต้องติดตาม

หนังสือพิมพ์ไทยธุรกิจ ภาคใต้ ฉบับที่ 22 ประจำวันที่ 1 - 15 กรกฎาคม 2551
หนังสือพิมพ์วิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจฉบับภูมิภาคราย 15 วัน
จำหน่ายทั่วภาคใต้ "ร้อนทุกแผง แรงทุกข่าว"

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน