เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2552 เวลา 17.00 ณ โรงแรมสิงห์โกลเด้นเพลส มูลนิธิชุมชนสงขลา "ร่วมหารือ" งานชุมนุมคนดีศรีสงขลากับท่านบัญญัติ จันทน์เสนะ ประธานกรรมการมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ
คุณชิต สง่ากุลพงศ์ กล่าวแนะนำกรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา ชี้แจงประเด็นในการหารือเรื่อง 1. กำหนดการการชุมนุมคนดีศรีสงขลา 2. Global Fund for Community Foundation ให้ทุนในการสนับสนุนมูลนิธิชุมชนทั่วโลก
คุณชาคริต โภชะเรือง นำเสนอเรื่องการดำเนินงานของมูลนิธิชุมชนสงขลา ซึ่งฐานคิดมาจาก 2 ภาคส่วน คือ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ในมุมของภาคประชาสังคมนั้นซึ่งภารกิจหลักคือ การเชื่อมร้อยภาคประชาชนในพื้นที่โดยใช้แผนสุขภาพจังหวัด ซึ่งหมายถึงความสมดุลทางกาย ใจ ปัญญา มีทั้งหมด 14 เครือข่าย โดยเอาปัญหาของพื้นที่เป็นตัวตั้ง และมีแกนหลักเพื่อประสานงาน โดยมีภาคท้องถิ่น ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน แต่ละประเด็นจะไปหลอมรวมกับหน่วยงานจังหวัด นอกจากนั้นยังทำแผนสุขภาพตำบลเพื่อเชื่อมกับเครือข่ายระดับตำบล ทั้งหมดนี้มีโมเดลปีกผีเสื้อเป็นแนวคิดของการทำงาน โดยทั้งหมดใช้งานสมัชชาสุขภาพจังหวัดเป็นตัวเชื่อม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังพึ่งแหล่งทุนจากข้างนอก จึงเป็นที่มาของมูลนิธิชุมชนที่มีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะพึ่งตนเองในระยะยาว โดยส่งเสริมในเรื่องของการให้ สร้างอาสาสมัครในชุมชน และอีกด้านหนึ่งคือ นโยบายสาธารณะโดยมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นตัวหลอมในพื้นที่ทั้งเชิงประเด็น เชิงพื้นที่ และการเมือง

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2552 มูลนิธิชุมชนสงขลา โดยคุณชิต สง่ากุลพงศ์ คุณสมพร สิริโปราณานนท์ คุณชาคริต โภชะเรือง พระครูปลัดสมพร ฐานธมฺโม เจ้าอาวาสวัดคลองแห ได้ร่วมเปิดพิธีฝายดักขยะ ณ วัดคลองแห ซึ่งก่อนพิธิเปิดได้มีการแสดงมโนราห์จากน้องๆเยาวชนเวลา 09.39 กล่าวเปิดงาน โดยท้องถิ่งจังหวัดสงขลา และร่วมตีฆ้องเปิดฝาย เทน้ำหมักชีวภาพ โยนจุลินทรีย์แห้งบำบัดน้ำเสีย หลังจากนั้นเป็นการเสวนาเรื่อง "การมีส่วนร่วม

ขอเชิญกรรมการมูลนิธิชุมชนทุกท่านร่วมพิธีเปิดฝายดักขยะวัดคลองแห วันที่ 7 สิงหาคม 2552เวลา 09.39 น. ณ วัดคลองแห และสำหรับวันที่ 7-8-9 สิงหาคม 2552 จะมีการจัดงานย้อนตำนานคลองแหเพื่อเป็นการรำลึกถึงตำนานท้องถิ่นในอดีตกาล และร่วมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดสงขลาตั้งอยูฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตอนล่าง ระหว่างละติจูดที่ 6.17 - 7.56 เหนือ ลองจิจูด 100.01 - 101.06 ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 4 เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามเส้นทางรถไฟ 947 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดิน 950 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
เมืองสงขลามีประวัติพัฒนาการที่ยาวนาน มีการเจริญเติบโต มีการเสื่อมถอย ครั้งแล้วครั้งเล่า ตามเหตุตามปัจจัย เป็นที่ตั้งเมืองมาหลายแห่งก่อนจะมาตั้ง ณ ที่ตั้งปัจจุบันคือ ณ ตำบลบ่อยาง ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยทั้งทางภูมิประเทศ สังคม และวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นคงอยู่ในช่วงนั้นๆกล่าวคือ ทางด้านภูมิเทศ หรือภูมิลักษณ์ ที่ประกอบด้วยภูเขา แม่น้ำ ลำคลอง ที่ราบ ป่าไม้ และชายฝั่งทะเล ซึ่งมีทั้งทะเลสาบ และทะเลหลวง ปัจจ

เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม ที่ผ่านมา คุณชิต สง่ากุลพงค์ ประธานมูลนิธิชุมชนสงขลาและคุณชาคริต โภชะเรือง ผู้จัดการมูลนิธิ ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับสโมสรไลออน หาดใหญ่ แนะนำมูลนิธิชุมชนและการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมในจังหวัดสงขลาซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแนวทางทำกิจกรรมสาธารณร่วมกัน โดยได้ข้อสรุปคือ ทางสโมสรไลออน หาดใหญ่ จะกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานและประสานความร่วมมือกับทางมูลนิธิชุมชนสงขลาในประเ
การประชุม “2 ปีข้างหน้าอยากจะเห็นสังคมไทยเป็นอย่างไร” โดยมีวิทยากร คือ อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 ณ ห้องสิงห์ทอง 1 โรงแรมสิงห์โกลเด้นเพลส
โดยคุณชิต สง่ากุลพงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา กล่าวต้อนรับอ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ ที่จะมาชวนคิดชวนคุยพัฒนาศักยภาพการทำงานของคนในจังหวัดสงขลา โดยร่วมแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “2 ปีข้างหน้าอยากจะเห็นสังคมไทยเป็นอย่างไร”

ชาวหมู่บ้านปริญญาเขตเทศบาลเมืองควนลัง จัดกิจกรรมเลี้ยงน้ำชาหารายได้ตั้งกองทุนเพื่อจัดการน้ำในหมู่บ้าน เมื่อ30 พฤษภาคม 2552 มองผิวเผินแค่การแก้ปัญหาของคนกลุ่มหนึ่ง แต่เนื้อหาของงานเห็นบทเรียนผู้บริโภคอันเกี่ยวข้องกับทุกคน
วันนั้นทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ FM88.0 MHz รายการสมัชชาสุขภาพทางอากาศโดยผู้จัดบัญชร วิเชียรศรีและอรุณรัตน์ แสงละออง ร่วมถ่ายทอดสด วงเสวนากรณีศึกษาดังกล่าว ทำคนในวงกว้างรับรู้ปัญหาและทางออกเรื่องนี้ไปพร้อมกัน

ข่าวคราวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ H1N1 ปรากฎให้เห็นมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 แล้ว แต่ยิ่งนับวันก็ยิ่งมีการรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ทำให้องค์การอนามัยโลกกังวลว่าไข้หวัดใหญ่ 2009 อาจจะสร้างความรุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก
ทั้งนี้ประเทศแถบเอเชียใกล้ๆ บ้านเรา ก็มีรายงานผู้ติดเชื้อแล้วเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศไทย ดังนั้นโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป วันนี้กระปุกจึงนำเรื่องราวของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มาบอกต่อเพื่อเป็นความรู้ค่ะ