พัฒนาการของหมู่ 4 บ้านต้นมะขามเทศ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

by punyha @24 พ.ค. 60 22:09 ( IP : 223...185 ) | Tags : ธรรมนูญชุมชน
  • photo  , 370x246 pixel , 24,367 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 102,088 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 87,437 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 65,975 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 64,784 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 65,758 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 58,586 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 74,693 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 75,237 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 92,933 bytes.
  • photo  , 640x960 pixel , 63,551 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 101,476 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 66,309 bytes.

พัฒนาการของหมู่ 4 บ้านต้นมะขามเทศ ตำบลควนรู หลังปรับแนวคิดการพัฒนาหมู่บ้านแบบมีส่วนร่วม การประชุมรอบนี้มีคนหน้าใหม่เข้ามาร่วมหลายคน มีการเสนอความเห็นร่วมมากขึ้น แม้จะงงๆหรือไม่เข้าใจทะลุปรุโปร่งมากนักว่ากำลังทำอะไรกันอยู่

การกระจายพื้นที่ตามเขตบ้าน มีกรรมการดูแลแต่ละเขตทำให้ดูแลหรือทำงานร่วมกันง่ายมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้โอกาสในการดึงสมาชิกหน้าใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น จะทำเช่นนี้ได้ก็ไม่ง่ายหากว่าผู้นำหรือผู้ใหญ่บ้านไม่มีแนวคิดเปิดกว้างและเห็นด้วยกับแนวทางจากการปกครองมาเป็นนักบริหาร

การวางรากฐานประชาธิปไตยฐานรากเช่นนี้ คือบทเรียนใหม่ที่ชุมชนไม่ว่าฝ่ายใดจะต้องเรียนรู้ สะสมทักษะ และสร้างผลผลิตในเชิงคุณภาพ สร้างการมีส่วนร่วมกระจายไปในระดับครัวเรือน ร่วมกำหนดแนวทางพัฒนา ร่วมกิจกรรม ร่วมรับผล มากกว่าเพียงร่วมลงคะแนนใช้สิทธิ์เพียงไม่กี่วินาที

ตำบลควนรูกำลังจัดทำธรรมนูญสุขภาพตำบล แต่ละหมู่บ้านจะนำแบบสอบถามไปให้สมาชิกช่วยกันสะท้อนปัญหา ความต้องการ และแนวทางแก้ไขที่จะนำไปใช้ในการจัดทำข้อตกลงหรือธรรมนูญหมู่บ้าน อย่างน้อยใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานของกรรมการหมู่บ้าน การจัดการขยะ และสุขภาพ วันนี้ได้เรียนรู้หลักการทรงงาน และให้ชุมชนทบทวนตัวเอง ศึกษาประวัติชุมชน ดูพัฒนาการ วิถีชุมชนในอดีต ทั้งมิติปัญหาและทุนทางสังคม(ทรัพยากร/ภูมิปัญญา/ประเพณีวัฒนธรรม ฐานอาชีพฯลฯ) เปิดกรอบคิดให้กว้างมากกว่าข้อมูลปัญหาหรือความต้องการของสมาชิกที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การเปิดกรอบการวิเคราะห์จะทำให้แผนพัฒนาหมู่บ้าน มีการมองว่ารอบด้านมากขึ้น และลองฝึกยกร่างธรรมนูญในหมวดเรื่องสุขภาพ ให้สมาชิกช่วยกันสะท้อนปัญหา และวิเคราะห์สาเหตุโดยพิจารณาปัจจัยกำหนดสุขภาพ(คน/สภาพแวดล้อม/ระบบ) แล้วนำหัวใจของปัญหามาสู่การจัดทำข้อตกลงเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป

การประชุมแบบมีส่วนร่วมก็เป็นบทเรียนใหม่ หากควบคุมการอภิปรายหรือการแย่งกันพูด รวมไปถึงการบริหารความเห็นที่หลากหลายไม่ได้ จะทำให้เกิดปัญหาได้ สิ่งเหล่านี้ก็คือบทเรียนใหม่ ทักษะใหม่ที่แต่ละหมู่บ้านจะต้องเรียนรู้

นัดครั้งต่อไป ดึงกรรมการแต่ละเขตที่จะลงไปเก็บข้อมูลมาฝึกทำธรรมนูญหมู่บ้าน และนำแบบสอบถามนั้นไปลงถามสมาชิกในแต่ละครัวเรือน

บันทึกโดย ชาคริต โภชะเรือง
วันที่ 23 พฤษภาคม 2560

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน