"เริ่มกิจกรรม 1.3 โครงการ success 6 เมือง" ภาคใต้

by punyha @31 ก.ค. 64 09:59 ( IP : 124...187 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 366x206 pixel , 9,944 bytes.
  • photo  , 366x206 pixel , 10,252 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 60,231 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 36,667 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 43,637 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 53,804 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 45,610 bytes.

"เริ่มกิจกรรม 1.3 โครงการ success 6 เมือง"  ภาคใต้

มูลนิธิชุมชนสงขลา และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ประชุมคณะทำงาน 6 เมืองภายใต้โครงการประกอบด้วย เมืองบ่อยาง เมืองโตนดด้วน เมืองพะตง เมืองปาดังเบซาร์ เมืองละงู เมืองควนลัง สร้างความเข้าใจที่ตรงกันต่อการดำเนินกิจกรรมประเมินความเปราะบางของเมืองเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะดำเนินการตั้งแต่ กรกฏาคม 2564-กุมภาพันธ์ 2565 ภายใต้งบ 1.2 แสนบาทต่อเมือง

ประเด็นหลักนอกจากทำความเข้าใจแนวทางบริหารโครงการแล้ว ยังเป็นการปรับฐานความรับรู้ความเข้าใจของคณะทำงานในการดำเนินงานตั้งแต่ต้น ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญในการทำงาน และต้องปรับตัวตา่มสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดไปด้วย

การศึกษามุ่งเน้นไปยังประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะน้ำแล้ง รวมไปถึงภาวะอากาศร้อน และมีแตะเรื่องกัดเซาะชายฝั่งในบางชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มที่ทีมงานภาคประชาสังคมของแต่ละเมืองจะลงไปศึกษา คือ กลุ่มผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าใจบริบทเมือง การเปลี่ยนแปลงของเมือง ทิศทาง นโยบาย แนวปฎิบัติ จุดอ่อน จุดแข็ง ที่มีต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ประสานความร่วมมือไปด้วย

และกลุ่มชายขอบ กลุ่มเปราะบางทางสังคม ซึ่งมักจะเป็นผู้ตกหล่นจากการวางแผนการแก้ปัญหาของเมือง และรวมผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง เพื่อรับรู้ความแตกต่างของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในระดับคน เพศ ครัวเรือน ชุมชน รวมถึงการรับมือและปรับตัวของแต่ละคน ชุมชน อันจะสะท้อนทุนทางสังคมในพื้นที่ไปด้วย

ผลการศึกษาจะทำให้ภาคประชาสังคมได้พัฒนาศักยภาพเรียนรู้่ปัญหา ศักยภาพของเมืองตนเอง เป็นปากเสียงให้กับกลุ่มที่เป็นชายขอบ ได้สะท้อนปัญหา และนำไปสู่แผนงาน นโยบายที่จะเอื้อให้กับคนทุกกลุ่ม รวมถึงวางแผนงานโครงการที่จะดำเนินการในปีถัดไป

การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมให้กับองค์กรชุมชน องค์กรประชาสังคมที่รู้ปัญหา เข้าใจบริบทของเมือง และได้รวมตัวกันทำกิจกรรม จะเป็นโอกาสสร้างความเข้มแข็งของเมือง และใช้การศึกษานี้นำไปสู่การกำหนดแผนงาน กิจกรรม โครงการ ในการแก้ไขปัญหาต่อไป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน